วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 นายจิระพันธ์ อุลปาทร ประธานสถาบันความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานเสวนาหัวข้อ“Envisioning the Future : Thailand-Japan Strategic Economic Partnership” ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยจัดขึ้นเพื่อรับฟังมุมมองและข้อเสนอแนะจากผู้แทนภาครัฐ ผู้บริหารภาคเอกชนชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในระดับแนวหน้าของญี่ปุ่นและไทยต่อการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจไทย–ญี่ปุ่นภายใต้โอกาสและความท้าทายในปัจจุบัน อาทิ การปรับโครงสร้างฐานการผลิตในภูมิภาคของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นขนาดใหญ่ ประเด็น Bio Circular and Green Economy (BCG) และสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ซึ่งทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักถึงการเสริมสร้างความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทานโดยมุ่งส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ
ประธานสถาบันความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่นได้เล่าถึงความเป็นมาในการก่อตั้งสถาบันความร่วมมืออุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่นภายใต้สังกัดสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยเน้นเรื่องการลงทุนจากญี่ปุ่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การพัฒนาบุคลากรเชิงเทคนิคและเรื่องอื่นๆ ที่เป็นความต้องการของทั้งสองฝ่าย โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ปี และถือเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุด เป็นหนึ่งในกลไกที่ทำให้ไทยปรับตัวเข้าสู่ความเป็นอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้ก่อให้เกิด Supply Chain ทั้งที่เป็นบริษัทญี่ปุ่น บริษัทร่วมทุนและบริษัทของไทย เพื่อความสะดวกในการจัดเครือข่ายปัจจัยการผลิตต่างๆ สร้างงานให้กับประเทศมากมาย ที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยด้านบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญมาก มักได้ยินผู้ประกอบการญี่ปุ่นพูดถึงเรื่องขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะระดับช่างเทคนิค วิศวกร และกลุ่มไอที จึงเห็นว่าระบบการศึกษาของไทยจะต้องเร่งสร้างบุคลากรให้มีจำนวนเพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเร่งรัดการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้ผู้ที่อยู่ในภาคแรงงานพร้อมกันไปด้วย
สถาบันฯ สามารถทำหน้าที่เสริมสร้างความร่วมมือกับการลงทุนกับญี่ปุ่นได้หลายทางเช่น การแนะนำผู้ประกอบการไทยซึ่งมี 45 กลุ่มอุตสาหกรรม ให้กับผู้ลงทุนชาวญี่ปุ่นตามความต้องการ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพระดับหนึ่ง รวมถึงการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยทำเป็น Short List เพื่อการตัดสินใจของผู้ที่จะมาร่วมลงทุนได้ การทำ Business Matching ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่มุ่งเจาะลึกเชิงคุณภาพและจำกัดเฉพาะอุตสาหกรรมไป

