เพราะโลกร้อนขึ้นทุกวัน !!

“Climate Change” ประเด็นที่ทั่วโลกกำลังกังวลและพูดถึงมากที่สุดช่วงนี้ ซึ่งเราทุกคนต่างก็ได้เห็นกับตาในสิ่งที่เกิดขึ้นกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมหนักในบางประเทศ คลื่นความร้อนที่ค่อย ๆ ปกคลุมอย่างต่อเนื่อง สังเกตง่าย ๆ ขณะที่ฝนกำลังตก แต่เรากลับรู้สึกร้อนทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงหน้าฝนใช่หรือไม่

..

อ้างอิงภาพถ่ายดาวเทียมของ NASA ข้างต้นสามารถยืนยันสภาพภูมิอากาศ ณ ขณะนี้ได้ว่า คลื่นความร้อนและไฟป่าในหลายพื้นที่แถบยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ที่ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จึงเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของเรา ๆ นี้กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมากแล้ว

..

จากคำเตือนที่ประกาศออกมาให้ทั่วโลกทราบพร้อมแผนเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังโดยเร็วที่สุดเพื่อควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส นั้น ถือเป็นวาระสำคัญเร่งด่วนระดับโลก เพราะหากเรายังปล่อยให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ทะลุองศาที่กำหนดไว้โดยไม่เร่งควบคุมใด ๆ ก็จะเกิดความสูญเสียและมีผลต่ออนาคตของมวลมนุษยชาติและสรรพสิ่งอีกมากมายมหาศาลตามมา

..

นานาประเทศได้เริ่มตั้งเป้าหมายและประกาศจุดยืนพร้อมทิศทางที่จะช่วยกันสร้างระบบนิเวศให้ดีขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน สำหรับประเทศไทยนั้นได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในที่ประชุม COP26 ไปแล้วก่อนหน้า ที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2065 ซึ่งการติดตามผลและประเมินผลก็คงจะเข้มข้น

..

เว็บไซต์ของ Global Climate Risk 2021 โดย Germanwatch ได้เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับ 10 ประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ตั้งแต่ปี 2000-2019) ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 0.8% ซึ่งยังไม่ถึง 1% แต่กลับได้รับผลกระทบในอันดับต้น ๆ และอาจจะได้รับผลกระทบต่อไปในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

..

จึงเป็นที่มาของความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสถาบันล่าสุดของสภาอุตสาหกรรมฯ และ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิตขึ้นในประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจและทางเลือกในการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบธุรกิจ มีกลไกราคาคาร์บอนที่ยุติธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ 

..

ชวนรู้จักกับ “แพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต” (FTI : CC/RE/REC X Platform หรือ FTIX) ที่นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศให้เป็นเรื่องง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่มีสินค้าส่งออกนอกประเทศ เป็นที่ยอมรับว่าสินค้าที่ผลิตมีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย รวมถึงลดความเสี่ยงจากผลกระทบของมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นกฎกติกาสำหรับผู้ประกอบการที่จะส่งออกสินค้าไปยัง EU 

 จุดเด่นของแพลตฟอร์มมีอะไรบ้าง :

  • การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มสามารถซื้อได้ทั้งพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต
  • แสดงภาพรวมข้อมูลทั้งด้านการเงินและพลังงาน รวมถึงภาพรวมในตลาดทั้งปริมาณและราคา
  • การส่งคำสั่งซื้อขายสามารถทำได้ล่วงหน้า 1 วัน / ภายในวัน พร้อมการยืนยันความถูกต้อง
  • สามารถตรวจสอบข้อมูลภาพรวมของผู้ซื้อขายทุกคนหรือแต่ละรายได้
  • มีบิลแบบรายเดือนเพื่อนำไปชำระเงิน 

..

ทีนี้เรามาดูหน้าตาและฟีเจอร์การทำงานของแพลตฟอร์มนี้ไปพร้อม ๆ กันเลย

 

จุดเริ่มต้นของอนาคต ที่โลกของเราจะเต็มไปด้วยพลังงานสะอาด สร้างความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนโลกใบนี้ไปด้วยกันกับ “แพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต”

..

สำหรับผู้ที่ประสงค์ลงทะเบียนจดแจ้งซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน/คาร์บอนเครดิต/ใบรับรองสิทธิการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในโครงการ ERC Sandbox ระยะที่ 2 คลิกที่นี่ https://bit.ly/3Rfmc71
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส.อ.ท. (Climate Change Institute: CCI)
โทร. 062-854-9541 (คุณพิริยะ)

————————————————

แหล่งอ้างอิง :

https://earthobservatory.nasa.gov/images/150083/heatwaves-and-fires-scorch-europe-africa-and-asia

–  https://www.germanwatch.org/sites/germanwatch.org/files/2021-01/cri-2021_table_10_countries_most_affected_from_2000_to_2019.jpg

เครดิตภาพ :

https://earthobservatory.nasa.gov/images/150083/heatwaves-and-fires-scorch-europe-africa-and-asia

https://www.freepik.com/search?format=search&page=3&query=Carbon+Neutrality

Copyright @2022 by FTI