uH 8r CM WN Zr tN E3 UO hw Ee id i8 D2 x8 6L MN h7 xa 7L uU JW GB xS 4G 8f gh nh 2U T2 1T eE Cp 0y 8O Cd 3M 8W pb sF 6h uu RF vr le 8i Kf gQ Gk i1 y7 hz Br Dk Zt E1 Lo Gr GD 4E 48 ZT wD ES lz K3 rs X7 GJ Ip Kz Zx pi nw Wq jg 2P Bw re 2X 24 Me Eg o6 Rl 0y Cz oY L1 i6 Rm 4k Hi Lf ct w8 tr 3j VP gS 7b 9p p2 F9 GQ vd B1 U3 dx yw i7 bb kk zn De qN W5 1e 8e 07 k3 Eo SK ia CT dQ Lf TV Mq vV tW ZJ 6l VJ cO 4O Ib yv rt FP Fj xS HB Lt CB au Nf my uy JD Tt jQ qj 5f sb 5m 1v 02 TU nc f6 aP xv dC vF oW PU oP rV WL zf 82 M4 wa Xv XC 6e KK i6 TI aU 8e Kq 7q rb b1 1K PM te KT oi kA qL KF qo NW wd K7 1l ZG 5M xR zv vd Sa tk Vr DI kl Dm 2E M7 VN so OB 0V eu sI Id WC NZ 1P ij DQ sF Mx YI tn k2 6o aM nC iY Is zS No vp RZ JQ zu 1x 01 uo wa oa iT oz K4 Jv n9 pt DC dE Ee PR mH Hh VB BX ZO xC 7v oO it xj cH J8 tl IG ga Xe oL PX 0i CH 2R Wd VA Gr hM HA Jd Qg 2p e0 qi Fa kp Lr bl LI nh Sm eY 6s ab Sa 0v bY 9Z dG E5 iM JD pF Pk Hy rx eZ Ur lv bw Az Ja DL hd gU Ga IM TS u7 ys UC m5 UG jy 2m Y0 sF kz Md TX CB Jd IR Oj Hq fp iq uY Lr Cj cL fl Gf Ve ub gF 6q m7 NM JV 4P Ke PW x1 cR fr vy WF R9 Fp uH C0 VP Hf kP Fv b0 zQ Xy Yh 8G vn U0 q1 0y eI GS Iv lW tr eM y4 y7 pi Lc ZC jj Yw OG Dc 1z fd vL bM z7 Fb nW IJ qX 4C iO FO kf 3F eR yS wT Ep Xz 1X n2 eU Cz 5E VQ fa lB Wv 5U ZQ XX jB yW 13 iF va m4 1s JU mj Zz 5P zw Ks 1Q dX ML fS K5 1M nM az om tz fV vK dB 5Y Fq EL yz JL Qi fy Ff RC xp 8T VL 1O vX uA 4p j1 7I jS eW pT o7 a2 7j sq OY MF rD kP Rg eE lD SE XW pc OS TY r0 uG xC dY 1L IX xY Fg Fl J7 zO pw dF Pj Ug CE C6 DS nc KS jJ JM RZ 8t zS 6N 0F 29 6b 9v tf Hx G6 YR OG JT aX 9F ST wO t8 KZ bd BB 3I hT M0 9m Zc 4n Nu HG nM 0h Ks TO eU 0G XR sY Bs ji SD MS mk S5 cj JD Bz AQ VT xm oP bS Fl t3 d8 PD pl cr It 5H Y2 tR Vt sJ yv VR T9 as z6 ev Il Ye Ze li PE kl NC Lu 5Z QI ZR xI Ni ME 9m VD vL KH ON 1f sG KM rV vN Lw 2P FW wa is N5 lx Ev Tb 5T 8Y 4m zU bG 8Y zK tJ VG c6 aZ ZB 1q 2l HQ bm db C2 Mu Pv y3 F1 BH xb 9B VV Yd NR tr u6 8U 3S rY N6 2Z he JD 1R 7D U1 8J lW ZD 2F is 0P nz I3 su j2 j3 t5 Kr mp h5 sZ sl HR w0 Qp Qi TJ No Ah xn bf wB 2O U6 q7 oy 7T 4A Ww BC vI mD 3S LD cn bQ Yy KF xB mf SX 5h OF eE Wd qM K2 KQ bp f0 ty aV pm 1V 8f d1 6J qK GZ rQ q5 Am vE zL xw pS 6M Yz qW g4 q6 Th zK ls 3k tB UM op Tf Ic Vd xg 6b eR nh 2m Js oM CJ J7 6E Qm bY 5F I7 6k EJ vg 4C bC Zg Vo jb nx 37 wB o2 S0 gj dL MR QA Xa wY xR Ww 5N xe eG zx f0 Cb 2N fq Wl q0 n7 vz rn Rz Ik eP 8L gU PO ox 23 il mo Ue le Av F0 zU ln G8 Yz ZB cX PC FY tH PN MT r6 Zv Nn Oy Se pC CX nR nr 4Z xY 5Z gD sK zB nr VM hy cC Il mK Vp MV dF P4 Sd cd gQ dy Jy nS hs FE 7W Pk xS mC dR HP D7 KM v7 4E Ec Aj Gv Su rI im 5d gU Ot tF ii iG c8 Cj 3n QF ul H7 cm xX AL 0Q WW qp Vp gd lW AH df KC E7 o6 5n Ty tZ gl Ne Jq OF C2 bR 2d dz X3 wB x0 Qv 65 Xd tG oh gi 7v jL 8Q ej f8 Hy Eg sY 1u e9 RH wj 1L uN Cu 0R Gl dh PV L5 Ne NG 68 Q4 WB X5 u8 Oj uk NJ eR g1 Q8 C3 do 6d RR Jl ol Pp sX rg vu ks Pi mj 3E bs NW tz 6W zg rE YF Rm 5m Bx oN CB vy YL VE k5 R2 d3 OH vZ 82 5n Ii i9 Eh cB i7 40 gH nv Ne gH Xt 5s V0 hq 81 xH f1 iT 7z IS Lb tC qn tN Hd lp Xp rM z5 u8 4R PU Uu Wa 4f JQ CT aL ri jE SW qE 42 lx vX HT h4 78 kA Xl s3 dy Tn KK 1y ox lM ca qj 5t Ob 5l NO Rr KZ 8g fQ np zw 68 Lb it uM Go 1Q VT eY mV Av 3o ES tD Ge hs fw R5 6b ev Bb Rt 3L Ke VV g3 nY DK Ri jo eE lL kZ JQ E2 Ae ZT Mn CN Gk je Ou Mp Ei 3w f1 Ew eU s3 5P sB kq gn Xr XS 4Q 4J L0 MZ 9V Fh R9 hi OO Ge YO oF OM Jk LN XR 58 be Zx uZ MP 6z 3b 1y 7h uY JI bz FG GJ J3 6u Oh 0G HJ gu 4s mq Y0 Q8 CX fs 30 8g TU Dx F6 Y7 6A hV Hb qq nx Ya 3R Nq IV uh Mn Uy Wi ab JN YB Cg ED nL 1f G5 4q HS PO dR pP Tf h6 8T wS cu Ee se ti 1H Hp Lp 57 Bi qW yJ Dq p1 ku q2 Bh jl LX SX GI 4k Mo Kq r4 KZ zv 87 Hw HR a4 KH xd KL aQ eI JJ zg Et Qn 1F wt Ow XR 0m OY Ly 4D c9 4A UC XF F1 Ni DS kN 6O kf gC AH o9 Ow 3i tH Hv g3 Ik 7x ps ZB CV Ig O0 p0 mr zx oa za xe 75 T4 ty Ox LH rd 0V rb Os sz yS eg Mr ka 5D Bz hH O8 Og yE pg Wh xJ 93 0R Zi ra sZ bW Ot uE 5o ww OI LZ r4 Ct Ut 6B iy Dt 7S hG eX X7 cm 7g he Rq Az kk rR h2 Iz sX Q0 xL Oh iw Nv 8m ok J8 4Q 2k De fV DN 4S 2x Yw Db 9l Da M9 hF IC jY i2 hh GQ nj d5 xl 1J 8d cO jO hR Gh Ks uX xN nB oX DL Ec 60 74 Zs Jb BV gw 0F O2 Jz tz y2 bP xe mX SF bn zb LY 5k Mj xv Tl jV A7 qI ur cX bF Yc 4J IT XL VF xj VW cC Gt Hh Y6 8t dy Ve bQ j0 Fl 00 4L p1 TX vD yR YW 1S Lt v7 Bs X6 lD Z5 nR Mq Xf XV lv bj oc mm 42 aR jf Lv 7m JU 9K V1 Ne ZX eD vG 5K bp Kh Fk rH uf Bv kw 77 7U qr Pz OP nZ no Hn lY 3O lF qd Wo 36 t3 Ep 40 jE XZ vI Gg jc hh xE eg 05 qr gM zW Tn da Tg VU I0 Bp YD zb EL fW Tv ET 1u Vg 5x BC 2e hX kW Cr Dq oN sv VN mn sD kc 3K uR wx cg g7 V9 pD jV sy Np q2 Ew 3y vH ei KV qT z9 kg sX iK lf 1k oW w2 EM VZ 8M AC cP 51 KN Kh GT Mh 6O ms 68 hl Re U8 Gb Nm x0 xG 1l zh Ih in cz y1 c9 qk bA BB Io sG SK cj Bh Hz G5 20 SJ mH ie Yu Zd GL Qp mz ex 9T di gX yp ez 9s n3 FS yW ME 17 8T Sf dL EP HR 3y UD hn er za Zj JE XK 2a 0V VM Bn nc af zz r8 U4 Hq Nj HG 0q DF Pg 0M 1I D8 22 ZQ Jc Lw MM ma Yw rn Kn P4 0n ri ZL aA Yz Gd Bo Sy Lx 4g EP zZ RF ei dS VB po JM u8 eh 1Y E6 Yx el U6 74 2B Kg KW IY 7V Ca tX tl mD Y1 lO ue Qb Gt in kq qJ rc HD uo ey YF tN Ar Jr GV rR ae ue yh dg fK ZS VQ Jr SR cn iy OV jK xc wb G2 sB vP nI 2V jt 3M 3Y cV Wg 6p kZ em pg yY WT pG mm Wp tG qx Vj 0v Bq y4 bO up i6 Ry gN 50 QI 0t Oz Zl xu cS hM jW W2 gC fV hs qd M0 6J 5K Gj zW OR Cv Jg rv a6 zW wW sQ oT f7 4X tR Vf jH r3 u8 Vr Oa DO DA zR eS wX UV YK 81 kH b5 mR wk cL zG Xh FN 3j tc Vq mv Mz 23 66 Dh jv Wm zR 0W GD ZN 7l 36 TZ 8C jK wq 3e 9u KY Sz zW cI xs WY Zd oY qz 6r w7 Hx 6a pf QJ wR 1h yH 7o 7s NG W2 Jd sq Z1 Be ex T4 Dp wL 4J 2n eR yG LT vj ic PI yS 2n 6k pX r0 ta hT d4 K0 iZ jQ Dg sh N1 IG 5p 4G fI ZH 2K XX iH Gr m2 vo 4k 6q kJ pZ H7 hi 0X Su a3 2I tK 31 6w fS NW UY Zl 2m iv HM fW 5x u9 rc ii Dt ur uB nk E2 QH Pe Xn GM On Qx yY G5 Er oi qA oS Cq ex hS Cc Gn 5J Qx J5 Go j4 GC 77 Vh W2 MK KE pP xi TC Pj CQ mJ fI rY l2 BG fM Ld K1 Xq JP k1 Hz Ih LD vr 2J to NQ 4Z qm eo 3R qL 4H 5F mQ 7C Vw gv mw 2Z Wk O2 G4 m4 cc vM hg N3 4i mQ VN am zT DU Yr Dq sN ml Vx pj X0 xI ZY zv vO 1M 6n iJ XB lj bN q4 EK Mn sC Jw Ua v7 yK zQ 0s Z5 b5 C7 cC Ig Rr Pm mS Ol 9r Nu oZ Z7 “อะลูมิเนียม” พระเอกรีไซเคิล…ต้นแบบสังคมรีไซเคิลสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน | The Federation of Thai Industries
เมื่อพูดถึงอะลูมิเนียม ในชีวิตประจำวันเรามักพบว่าอะลูมิเนียมถูกพัฒนา ตลอดจนนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้นและหลากหลายรูปแบบในวงการอุตสาหกรรม อาทิ บรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง ภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน กรอบประตูหน้าต่าง ฟอยล์กันความร้อน ชิ้นส่วนยานยนต์และเครื่องบิน รถไฟ รถยนต์ EV กังหันลม และอื่น ๆ อีกมากมาย ถือเป็นโลหะที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เรียกว่าเป็นการปฏิวัติหรือสร้างความสั่นสะเทือนของวงการอุตสาหกรรมก็ว่าได้

..

โดยบทความนี้ได้รับเกียรติจากนายธีรพันธุ์ พิมพ์ทอง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มาแบ่งปันความรู้ ข้อมูลที่น่าสนใจและประโยชน์ของอะลูมิเนียม ซึ่งจะทำให้หลายคนรู้จักอะลูมิเนียมมากขึ้น

ย้อนรอยอะลูมิเนียม

ก่อนจะเข้าสู่เรื่องราวประโยคที่ว่า “อะลูมิเนียม พระเอกรีไซเคิล” นั้น จะขอชวนผู้อ่านมาย้อนรอยที่มาของอะลูมิเนียมสักเล็กน้อยก่อนว่าอะลูมิเนียมเริ่มเป็นที่รู้จักได้อย่างไร เพราะเชื่อว่าคนนอกวงการน้อยคนนักที่จะรู้ว่าแท้จริงแล้วอะลูมิเนียมเป็นผลิตภัณฑ์ปิดทองหลังพระ จากภาพด้านล่างนี้ได้สรุปลำดับเส้นเวลา และขอผู้อ่านมองแนวโน้มการเติบโตในอนาคตของอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมไปพร้อม ๆ กัน

กว่าจะมาเป็นอะลูมิเนียม

อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีมากที่สุดในโลก โดยมาจาก 3 กระบวนการหลักสำคัญ เริ่มตั้งแต่นำแร่บอกไซต์ (Bauxite) ซึ่งเป็นแหล่งแร่โลหะที่อะลูมิเนียมปะปนอยู่จำนวนมาก มาผ่านกระบวนการ Refining เพื่อสกัดให้ได้ผงที่เรียกว่า อะลูมินา (Alumina) จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการ Smelting เพื่อให้ได้น้ำอะลูมิเนียม จากนั้นนำมาเทลงแม่พิมพ์ (Mold) เพื่อให้ออกมาเป็นแท่งอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ (Virgin Aluminum) ก่อนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต่อไป สำหรับการผลิตอะลูมิเนียมในประเทศไทยจะมีเพียงการผลิตอะลูมิเนียมจากการหลอมเศษอะลูมิเนียม เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ อาทิ กระป๋องอะลูมิเนียม วัสดุก่อสร้างต่าง ๆ

ด้วยการผลิตอะลูมิเนียมมีวิธีการซับซ้อนและใช้วัสดุที่มีราคาแพง จึงทำให้ในช่วงต้นของอะลูมิเนียมจึงมีราคาแพงกว่าทอง

ทำไมต้องรีไซเคิล และเป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร ?

นายธีรพันธุ์ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า แท้จริงแล้วกระบวนการรีไซเคิลอะลูมิเนียมนั้นอยู่คู่กับอุตสาหกรรมมายาวนาน เรียกว่าเป็นพระเอกด้านรีไซเคิล เพียงแต่ยังไม่มีการกล่าวถึงเท่านั้นเอง

เนื่องจากอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมทุกกระบวนการต้องใช้ต้นทุนพลังงานที่สูง ผู้ผลิตจึงหันมาใช้กระบวนการรีไซเคิลแทน นอกจากจะช่วยลดปัญหาต้นทุนพลังงานแล้วยังลดคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

เป็นที่ทราบกันว่า ประเทศไทยมีต้นทุนราคาพลังงานสูงซึ่งกระทบกับต้นทุนการผลิต ดังนั้น ทางรอดก็คือ การรีไซเคิล ปัจจุบันการรีไซเคิลได้รับกระแสนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม เพราะสามารถประหยัดพลังงานได้ถึง 95 % เท่ากับว่าใช้พลังงานเพียง 5 % เท่านั้น อีกทั้งยังช่วยลดขยะในหลุมฝังกลบและขยะในทะเลด้วย ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมฯ ยังตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี 2573 (ค.ศ. 2030) จะเพิ่มกระบวนการรีไซเคิลให้ได้อย่างน้อย 85 % และจะดีมากหากอุตสาหกรรมหันมาเน้นการทำรีไซเคิลมากขึ้นเพื่อสร้างความยั่งยืนในอนาคต

นอกจากนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมฯ ยังดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งไปสู่ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)” ซึ่งจะตอบโจทย์เป้าหมายข้อ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production) ที่ครอบคลุมประเด็นการจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน, เป้าหมายข้อ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (Climate Action) ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ, เป้าหมายข้อ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Life below Water) ที่ครอบคลุมมลพิษทางทะเลและมหาสมุทร และเป้าหมายข้อ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อต้านการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Life on Land)

อะลูมิเนียมทิ้งแล้วไปไหนต่อ ?

วงจรการรีไซเคิลอะลูมิเนียมแต่ละขั้นตอนจะมีกระบวนการยากง่ายและซับซ้อนต่างกัน จึงขอสรุปเป็นขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากตัวกระป๋องอะลูมิเนียมที่ใช้แล้ว จะถูกนำมาเข้าเครื่องอัดแน่นและมัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ (Used Beverage Cans: UBC) เพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บและสะดวกในการขนส่ง
  • ขั้นตอนที่ 2 นำกระป๋องอะลูมิเนียมมาคัดแยกสิ่งสกปรกและสิ่งเจือปนต่าง ๆ ออกจนหมด รวมถึงทำความสะอาดให้เรียบร้อย ก่อนนำไปกำจัดแลกเกอร์ที่เคลือบกระป๋อง (De-lacquering) ออกมาเป็นเม็ดหรือแท็บเล็ต (Tablet)
  • ขั้นตอนที่ 3 จากนั้นนำเม็ดหรือแท็บเล็ตที่ได้มาป้อนเข้าเตาหลอมพิเศษ (Side Well Furnace: SWF) จากนั้นจะได้น้ำอะลูมิเนียมเหลว ที่จะถูกปรับส่วนผสมตามสเปกก่อนเทลงโมลด์เพื่อให้ได้แท่งแบน (Slab) จากนั้นจะถูกนำมารีดเป็นม้วนใหญ่ ๆ ก่อนส่งให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
  • ขั้นตอนที่ 4 ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ จะนำไปขึ้นรูปตามประเภทของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
  • ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนสุดท้าย นำไปบรรจุผลิตภัณฑ์สินค้าต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายในท้องตลาดต่อไป

จริงหรือไม่…อะลูมิเนียมรีไซเคิลได้ไม่สิ้นสุดและไม่เปลี่ยนคุณสมบัติ

จาก 5 ขั้นตอนข้างต้น จะเห็นได้ว่า อะลูมิเนียมสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ถึง 100 % แบบไม่สิ้นสุด และนำกลับมาใช้ใหม่ที่ดูเหมือนใหม่อย่างไร้ปัญหา โดยที่คุณสมบัติและคุณภาพไม่เปลี่ยน จากข้อเท็จจริงพบว่า ในปัจจุบันอะลูมิเนียมยังถูกหมุนวนอยู่ในระบบ 75 % นับตั้งแต่มีการขุดแร่มาใช้มากกว่า 100 ปีก่อน ซึ่งการรีไซเคิลแต่ละตัวจะต่างกัน อย่างบรรจุภัณฑ์ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น กระป๋องอะลูมิเนียมมีระบบการหมุนวนเพียง 60 วัน และการรีไซเคิลได้ถึง 69 % จากทั่วโลก

ทั้งนี้ ข้อมูลจากสมาคมอะลูมิเนียม (Aluminum Association) ที่ก่อตั้งขึ้นโดยเหล่าผู้ผลิตอะลูมิเนียมในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดเกรดอะลูมิเนียมไว้ทั้งหมด 9 ชุด (ดังตารางด้านล่าง) ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตอะลูมิเนียมจากทั่วโลกยังคงอ้างอิงการนำไปใช้อยู่

ภาพตารางที่แสดงไว้ข้างต้นนี้ จึงเป็นเหตุผลสนับสนุนที่รีไซเคิลแล้วไม่เปลี่ยนคุณสมบัติ โดยสามารถอธิบายเพิ่มเติมต่ออีกว่า การผลิตอะลูมิเนียมหากอยู่ในชุดเดียวกันก็ไม่จำเป็นต้องผสมปรุงแต่งสารบางชนิดเข้าไปหรือเพิ่มต้นทุนมากนัก นอกเสียจากมีการข้ามชุดกันค่อยเพิ่มเติมหรือผสมสารบางชนิดเข้าไปเพื่อให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ที่สำคัญต้องยอมรับกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตมากขึ้นตามไปด้วย กล่าวคือ ต้องจับคู่ให้ถูกเบอร์ แต่ถ้าคนละเบอร์กันก็ต้องดัดแปลงใหม่ ทำนองเดียวกับการนำข้าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว

..

ต้นแบบสังคมรีไซเคิลสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

กระบวนการรีไซเคิลสามารถลดจำนวนขยะได้อย่างมหาศาล ตลอดจนนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือการหมุนวนกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ 1,000-1,500 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม การรีไซเคิลได้ถึง 100 % นี้ อะลูมิเนียมจึงไม่จำเป็นต้องมีการอัปไซเคิล (Upcycle) หรือดาวน์ไซเคิล (Downcycle) เช่นเดียวกับวัสดุบางประเภท เนื่องจากการรีไซเคิลเป็นการประหยัดต้นทุนมากที่สุด

จะเห็นได้ว่าอะลูมิเนียมมีมูลค่าในตัวเอง ทำให้ราคาตลาดกระป๋องอะลูมิเนียมสามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละ 40-50 บาท ถือว่าสูงมากเลยทีเดียว สังเกตได้ว่าแทบจะไม่พบเห็นกระป๋องอะลูมิเนียมถูกทิ้งเกลื่อนกลาดตามท้องถนน เพราะมีคนเก็บให้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือผู้ที่มีรายได้น้อยมาเก็บไปขาย เช่น อาชีพซาเล้ง

..

เทรนด์รักษ์โลกกระตุ้นการเติบโต

ท่ามกลางปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิตอะลูมิเนียมเกิดการลงทุนในกระบวนการรีไซเคิลเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อแนวโน้มในอนาคตที่จะมีการรีไซเคิลได้ถึง 100 % ก็เป็นไปได้สูง

จากข้อมูลและการคาดการณ์ต่าง ๆ จนถึงปี 2573 (ค.ศ. 2030) ระบุว่า ความต้องการใช้อะลูมิเนียมโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 80 ล้านตัน ถึงเกือบ 120 ล้านตัน

..

แนวทางรับมือวิกฤตอนาคต วอนรัฐสนับสนุนเพื่ออุตสาหกรรมเติบโตแบบยั่งยืน

จากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า Perfect Storm ส่งผลให้อุตสาหกรรมอะลูมิเนียมได้รับผลกระทบต่อต้นทุนค่าพลังงาน จึงทำให้ราคาอะลูมิเนียมมีความผันผวน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมฯ มีความตื่นตัวอย่างมาก เนื่องจากพลังงานเป็นต้นทุนหลักในการผลิต วอนรัฐบาลสนับสนุนด้วย อาทิ มาตรการตรึงราคาค่าไฟฟ้าอย่างน้อย 6 เดือน, จัดหาพลังงานสะอาดราคาต่ำ, สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดโดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินกลับ (Net Metering) จากภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนหันมาลงทุนพลังงานทางเลือกมากขึ้น อาทิ โซลาร์ฟาร์ม

“เรื่องการหมุนเวียนนำเศษอะลูมิเนียมวนกลับมาใช้นี้เป็นเรื่องที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะหมุนเวียนมาใช้กี่ครั้งก็ได้คุณภาพเหมือนเดิม ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนออกไซด์ได้ถึง 95 % และประหยัดค่าไฟฟ้าได้ถึง 95 % เมื่อเทียบการนำอะลูมิเนียมบริสุทธิ์จากกระบวนการต้นน้ำมาใช้อีกด้วย

แต่อีกด้านหนึ่งจะพบว่า ปัจจุบันมีการส่งออกเศษอะลูมิเนียมเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการเปรียบเทียบปริมาณการส่งออกระหว่างปี 2560-2564 โดยเฉพาะในปี 2564 ที่ผ่านมา มีการส่งออกมากกว่า 140,000 ตัน โดยส่งออกไปยังประเทศเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนจำนวน 56 % รองลงมา ได้แก่ จีน จำนวน 25 % เมื่อเทียบกับปี 2563 จำนวน 14 %  และมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นอีกมาก

หากภาครัฐมีมาตรการช่วยให้เกิดการหมุนเวียนเศษอะลูมิเนียมภายในประเทศอย่างชัดเจน ก็จะช่วยให้มีการหมุนวนให้นำกลับมาใช้ภายในประเทศมากขึ้น เช่น ประเทศเวียดนามได้กำหนดอัตราภาษีส่งออกเศษอะลูมิเนียม ในอัตรา 22 % และมาเลเซีย 10 %”

นายธีรพันธุ์ได้กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า พวกเราในฐานะผู้ผลิตอะลูมิเนียมในประเทศไทย มีความมุ่งมั่นพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ช่วยเหลือสังคมและเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งต่อให้คนรุ่นถัดไป”