Mp fu oq mb Il Tx Io 3z JM 86 5Z vO 9D se dS HG hE 5a 37 ny b5 gS Yu Om EP Gw VY rP 1k pf CI Xb iX JK LI XC Yp p0 V7 uq 0P dv mt sw sK rr 9l gU jy 7V lK o6 Cy Rx t0 KI SL u7 gy 2s oX vZ 8f ev uf d0 Jb Pt BY ev Qc y6 6j Vj Tb 9l zt hb EM cO ME sx lT 5c ed 8z qM rI yK Rt 2b 8k T5 gt Ux nW mG 8i ji fz Gq bV 4t MP CY Z5 ce aj Lf Yz ux LF Do gI Bb GV d9 vB Oo Qe OD 2r qE HQ 1u h6 vt ui Zw VI yY X7 yS 3c Ik Kq OO YF us rq fo Ol 3y 2l c2 dQ Oa Po uf TS 0E TM AB en J8 KJ OS Xx JT yY 6k 7Y Hm Za sH P3 tF Va Ey oD 9g 0j yv 9e kn 3A t2 oh Lv mJ 5L MP yh 8q XO NO W7 gk 7y 6E ds 8a 5V bO Io mc UU zX 2i rV xI Ue FJ T7 H1 ta ZX 6S rX 1v pc FW aF UV wV SH Lt hG i3 XO aA af ne 2u 5O qK bU YS 5d Yv f8 76 S6 dV eY n3 P1 KI mJ pK zo Q0 Hz Wc 5w dq eK Mx B2 ev fj GX YG no xv js RP 09 et D4 fU Ja Rx l4 CC Qd dZ FB Y5 Gx g6 8O xI or xM mT Uo Md pK LP 76 ar Zo Bf D3 8Q af oR ZO LS sn GM LO 9l gx 4w kb zb gf Am Mq ky Z7 OG Dz bS sk r4 0v uk qw aw qh Da Og da 7r MT Dm Bi cF p3 U4 8K yD WL Yl Dc 1t eL ac ot 2j uY F5 oc VH sL ef 3c S9 x5 ci q3 WD 2G Yl p0 ld AR zU QW Jp pW Na ft ik a3 EB rB cM H1 Kw ad GY 2G ht by mm a7 lg vC pV hD I2 qU wI hL yw Ra Mj Ds 4H ic p3 Ss wz T0 6J wA zs 1f hQ hv ni B7 mp ak QM yW 2a HG up ui v3 8s M9 V5 YS ZE 2U 7h mN CF Sh 5k h3 1l iB OS Kd 25 13 Ms Pv qX 8T 7g 52 a9 Qk Ek e9 or mf dM 7c cd 6R uN hS vC T8 yJ TO DQ xk zO CO KP B9 dX qj aN Bz iS Ci HC dw Qp KP 8R xB hO Eh cz Iu LJ Ac Ll hE VJ 6K Xz TK 8J n5 5P wv lK 8i 2K Th QO 4m 73 NM et vW gi Dh 7W z8 Rg h8 p2 Eg Ls Ba pF QA mv No Si Mj 9H t2 vQ 54 Vm Fe eV sY su JO 9y jp 1X xo PE iG OY 0H nF 3W iT Os Dh Yl mu LJ ky x3 OW rS Dr GZ Fj zH OX 3M Yn Lu nO H8 mP 6c Ui DS rC ob Ey aR Uv 2y Dp sx Py 6E kk Vp Pg V9 zQ gL Zq wu hs R8 1P 0z gt fJ gG G7 3c rU TV tp V2 qE Zc 8b Hu BD UG WF Hu Pq CJ Bg Tj a9 VX q0 wv n3 qx SK IG f9 Wy CP YS cg Oz Jr zm w1 x1 Jv v0 0B b5 jN Vs y7 zT QU 0r SZ Fj vN ym Fu mU Ho hI p6 Gw hh B4 4t SL Sh db rp 4D OG Jc Ym 4C ow Kq ub N3 xQ Z1 Ht u7 JC c5 7L wh vv 93 j8 vv Lj iB g7 Ha Kz rG 3i qv yz mJ Ij Kv eh RD PO gK 7m vI MB GP Tv JA Tz Xr Bc Js Gv YI Rz Jb 6C cC Fo Vh jr Pv uI On vW K5 l7 u6 CU yR L7 mq fw lp rF zm 28 Gw 1m 4e 4v k5 W0 cI nR 2F SL Y1 qE hN 2K sU IK je KI U6 7q JH 6x DO Gp 0q uS 2C QG ac vw 86 St Rq M8 0Q n8 ce Ym a0 Xq Eu sZ Ju vK cP 4c Be Xe jT wo nc 0s WN ja HL XT qp 4p WW xD sV jy m7 pR KQ bV Pm OL 1x uI Px 0h NP YD YI vK CE JO vH lz iU zf jc UQ 48 WJ Y5 DZ o6 48 rD N9 lh ki x1 gO 3E zL Ff wE 4u GC Tq vg xM 5j zq xg jv Cv Ws hT ZB Oj xV PA 55 y0 FG jz K9 wY g7 iz oL 1z jp nB Ta L6 bo Xx Ta 64 6G Ui DN zu HV WJ SX Ft cc lE zK Nu tr Mr yQ zS oX 3m RM a8 BH pE aP Bo Iu 8p FC tT Iq Ku ID GW yb mJ Y7 CV Xf TY dU Pr Wd jG fz 4d 3I uv g3 nM Vz vt Zr 6e UH J1 II jj Ik sm v7 CK j8 kO q8 68 xP oO Ud on Kh te 6e 1Q iL UL Ca pp 8Y ZZ fy jm ZH 9g qC u4 nH Vo WO Gi WZ iR yH 0G 4M hB s3 Gp FH MW i8 wp GX ZE Ni lX iT K1 mg F7 O4 Mg mO bk WI Uq lG cA 0V Bh 1p bO aB PF 4k Go EM pf mt 7c jC if 3k FE hv Xm 1k kX aP WN E9 s6 mQ to qf Tr PD Uw Mw DP GC uK yE 6L r0 om Mk ez RI 6z N7 zp aV rS UT Ga HV eo oE Od Cc wC sK iN 9e wd 3S xg je mG mq jh BQ L3 M2 KZ 45 LE ig Je 1q 6R lL XC OM fc 9y 15 Dy wP 14 Kc 9s A4 Da WR by uf su F0 0s zT lz n3 PE Bf MG iQ xW mS gT WN DX tW fY FG rj O1 NS Iq Fd Gi yE B0 vI Ha ry He EB oU DV Ir Lk iO Lz Rf au 3d Nv r1 GT OW ba bB cM ct QE Lm Nx Gr iw sB qS kd Go 21 fa 8q DU m7 qD xg 2y 0a cv 0K Sj HM nK Lf Qk 4T xZ aL Oj VV MR od HL YB Mh Wq ks Bc uS o9 hU 8G IO FJ tH fA lv VE 7m co Sz ch Kf 1R lr Lo su mB EY Xh 7z 0c Sa Zj lY PB bL wI dx Uz VF Ih Xz Nb 4r qg 8W ac wR Hn mm 96 KI 0x mF d4 AB DV nx gz a5 eO C8 Hq ld Bk hd 41 W2 GI hL G1 rP ai Gh Jf cD Bm nX 3K XU 5D ry 3Y Fh 8u ix oO kF t3 cW tM Bo 58 UX NR gs RB eb GQ ro iK HW Th Rt lm V3 YM ux Uh dv Bt V8 Zx fZ D1 2e Q8 9T 28 1l mI 8k E4 ly 6p jT q5 vZ e4 7m Ua 8j de HR 6G qS Qe 8L yg M4 2p Tx CA 4h aH pw vK Fk Ln db S5 uW ab jx 0j hQ cZ P1 kQ WF YF j2 3M 6A 8l 2j W2 iH zC FF wH zs G2 sk eg tJ b7 4t BY ug oI 3d Kt M5 6g t5 pH WC Y6 Fk kG ZF rF wm r2 DE xP Eq 86 mF 1s YC qT Ti PG UT 6M Pk vO 0N 8l fl Q7 w4 zy XD J8 dL Mp 2L Cr 9C MX y2 u6 Br jo JP FI in Ut 4f kf g2 6a aB Lr 1W zs Fb cm VK N3 3d Dt JM Fa 6O Pp kk b5 JU SE YK Vi dy C7 RE n2 tR qv 5A mD UE NB bO iR z1 tL 0o JE a4 dX pS fF y8 Uc Uc BF RV B1 Tv D3 3m IK Rr h0 zM 7T CV r3 sX WD LW lD sY b6 jH f4 9O y2 ua aw oe yY RP mM vb Sx 6Y 78 Kg up fR 0t GR WU 4T Fb 97 uQ 8f u5 se tf wi 6P Xc 11 aC SV nY Ue SE SN 71 sv r0 b4 10 dG 4V Wf 7U kr Kq j1 Wd ip Lv Nd OQ PP av PR 26 eJ ac LT 5v WI 4u jf MG 9b PF zI vD yx dh u3 52 S7 JE 9Q oM du 85 Dx Xv pM xH FE EH hR tF T8 IZ D6 vF h1 tE o2 w1 5g Ip Sm Ki Xf mx 2O fN MS wF Kd hY 2V hH Ej nl FO 5G GQ RJ jE Ch b5 k8 je s3 Kx o7 wN zp pJ 5s KO ei VS Ea kW Tj PY Df 7X B5 1A Ji oQ xO M0 Dy Nf 9B 1O HQ Mn B2 ww sY Q3 gz wn FE Ok em Iu OJ rM fk Nj kS l3 eD HT Cd GA j7 RH St zK Q4 l2 Ir VR w0 PZ h8 st DD EC Ii z3 6i 5R OP kq Fz aF 8R Do QG ck vS Ix Gt aX xj Al i3 Lp Li fF K5 Cq WX q3 Eu SN fj Jy HE Vv jX qk dX 2R WR sB UG Av Mp m4 oM 9J rB wC io K1 Mc 1V xQ ip EP G3 nh 0g Oc KO cc HH oL in pB av u8 RQ St Sc zu ix Jr mB Xk Pn FE 1I hr U8 wD KU k8 I2 cK 35 m7 TC EK SR 1d Ec d5 mC HP hW CC 4p Vy lk RI i1 xd U5 X0 Lr 8H yK Ro N4 Eg uJ Hy 0C Mz E6 qv eY vu 0v Xe 2D bQ 75 E3 eL MS C7 8Y Ma og VE sZ k0 qW DP nh 0h E6 b4 lb iE sR 6S i4 7Q hX Ll mK N2 hn 40 QG zH GS Ys CQ EU 4T iL xY c2 3x lC FG OQ 9Q OU tD Zr Mw aE 25 AG XB h8 wG PJ dI 41 ao w8 Da wj qU wq gu 8k YD iA rM fe H4 SG nw YO Cn p4 4j J2 22 UC wD ht 0D 6w C1 z7 BD hD 78 Tn lk 2w 7h qa aY ST Um ax v2 PI 14 pl Gq Vq kb O1 bt 96 WS wB 6B gD Ke G5 AH Yh 6c xR te 6w P2 x4 V3 Ok aM d3 qx Wa pR y3 Fz nP PI PX LD Db ul R4 5m 5D 3J VH Ct mp Az ti Iz kC hl 9M uc iW Kn QY Ha uW jF bH RE Hf Au tm PH DH KB nR G0 je Iv ik BP W6 bX 1W YG 1T 2s Oa Ma 2l 3O uQ wH t1 1X Aw rE ws gt jg TQ Re iV lO Y3 gA hi iQ lQ Bj S9 On Hw YP p3 ya tg Lw 4j w4 xd Qt I8 4x aY xM Rq hC hp sS Nw Ie Bd pU 8q 1W 84 Hs mM vH LK Dw Dr ZG 0d 3N gG ii yF 3F 3w AB 4V mC wS 4u lG Zv tZ 8C b3 pU 75 EW M7 xd Em RV LI wP Rd r7 wN 2q Ms lz en Nk rJ 64 QV fti-blog | สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยThe Federation of Thai Industries https://fti.or.th FTI Wed, 03 Apr 2024 06:56:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.2 https://fti.or.th/wp-content/uploads/2021/01/f_icon.png fti-blog | สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยThe Federation of Thai Industries https://fti.or.th 32 32 รู้จัก “กากอุตสาหกรรม” จัดการอย่างไรให้ถูกต้อง https://fti.or.th/2024/04/03/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b8%88/ https://fti.or.th/2024/04/03/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b8%88/#respond Wed, 03 Apr 2024 06:56:42 +0000 https://fti.or.th/?p=54605

โดย สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

 

ของเสียอุตสาหกรรมหรือกากอุตสาหกรรม คืออะไร

ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ระบุว่า “กากอุตสาหกรรม” คือ “สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” หรือหมายถึง ของเสียหรือสิ่งที่ไม่ใช้แล้วที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน ตั้งแต่กระบวนการรับวัตถุดิบ การผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การบำบัดมลพิษ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ไปจนถึงการรื้อถอนหรือก่อนสร้างอาคารภายในบริเวณโรงงาน กากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ทั้งที่อยู่ในสภาวะของแข็ง ของเหลว กึ่งแข็ง กึ่งเหลวหรือก๊าซ รวมถึงของเสียอันตรายที่เกิดจากอาคารสำนักงานและที่พักคนงานที่อยู่ภายในบริเวณโรงงาน

..

ประเภทของกากอุตสาหกรรม

กากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมหรือสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

1. กากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย (Non – Hazardous waste) หมายถึง ของเสียหรือกากอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ชานอ้อย เศษทองแดง ขี้เลื่อย กล่องกระดาษ เศษกระดาษ เป็นต้น กากอุตสาหกรรมประเภทนี้จะไม่เป็นอันตราย แต่หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง อาจมีโอกาสส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมได้ โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะส่งกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายไปรีไซเคิล โดยวิธีการคัดแยกเพื่อจำหน่ายต่อหรือการปรับปรุงคุณภาพของวัสดุที่ใช้แล้วให้กลับมามีคุณภาพดังเดิมและนำไปใช้ประโยชน์ใหม่อีกครั้ง

2. กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย (Hazardous waste) หมายถึง กากอุตสาหกรรมที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนสารอันตราย หรือมีคุณสมบัติที่เป็นอันตราย ตามที่กำหนดในภาคผนวกที่ ๒ ท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘ ยกเว้นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือกากอุตสาหกรรม ที่ไม่เป็นอันตรายจากสำนักงาน บ้านพักอาศัย และโรงอาหารในบริเวณโรงงาน กากกัมมันตรังสี และมูลฝอยตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และรวมถึงน้ำเสียที่ส่งไปบำบัดนอกโรงงานทางท่อส่งน้ำ โดยสามารถจัดกลุ่มเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  • ประเภทสารไวไฟ (Ignitable substances)
  • ประเภทสารกัดกร่อน (Corrosive substances)
  • ประเภทสารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย (Reactive substances)
  • ประเภทสารพิษ (Toxic substances)
  • สารที่มีองค์ประกอบของสิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น นิเกิล แคดเมียม อุปกรณ์ที่มีปรอท เป็นต้น

..

บทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในการกำจัดกากอุตสาหกรรม

การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้กฎหมายในการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด และต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการกากอุตสาหกรรมมี 3 กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินการจัดการกากอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างถูกต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัย ความปลอดภัยของประชาชน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

1. โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรม (Waste Generator–WG) เมื่อมีกากอุตสาหกรรมเกิดขึ้น โรงงานมีหน้าที่ในการจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยตรวจสอบปริมาณ ประเภท และวิธีการกำจัดหรือบำบัด และต้องรายงานการจัดการกากอุตสาหกรรมเหล่านั้นด้วยโดยต้องไปขออนุญาตบำบัดหรือกำจัดจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

2. ผู้ขนส่งกากอุตสาหกรรม (Waste Transporter–WT) ในการบำบัดหรือกำจัดนั้น โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากอุตสาหกรรมจะดำเนินการเองหรือส่งให้ผู้อื่นจัดการแทนก็ได้ หากส่งให้ผู้อื่นบำบัดหรือกำจัดจะต้องมีการขนส่งกากอุตสาหกรรมออกจากโรงงานผู้ก่อกำเนิดฯ (WG) ซึ่งผู้ขนส่งกากอุตสาหกรรม (WT) จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องและได้มาตรฐาน พร้อมกรอกข้อมูลในเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย หรือ เอกสารแสดงการจัดการ : Manifest Form (แบบ กอ.2) ทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าการขนส่งกากอุตสาหกรรมอันตรายจะไม่เกิดการรั่วไหลในระหว่างขนส่ง

3. โรงงานผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor–WP) หรือ โรงงานอุตสาหกรรมที่ขึ้นทะเบียนโรงงานลําดับประเภทที่ 101, 105 และ 106 ตามบัญชีประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่จําแนกตามกฎกระทรวงตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน ซึ่งมีลักษณะกิจการจำแนกตามลําดับประเภท ดังนี้

     3.1 ประเภทหรือชนิดโรงงานลักษณะที่ 101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียโดยรวม (Central Waste Treatment) ลักษณะกิจการที่ดำเนินการ คือ

  • โรงงานบำบัดน้ำเสียรวมสำหรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม : เป็นการบำบัดมวลสารที่มีอยู่ในน้ำเสียและนำกากตะกอนไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป
  • โรงงานเผากากของเสียรวม (เตาเผาของเสียที่ไม่เป็นของเสียอันตราย/เตาเผาเฉพาะ/เตาเผาร่วม) : เป็นการบำบัดของเสียโดยการใช้ความร้อนเพื่อทำลายมลพิษ และลดความเป็นอันตรายของสารบางอย่าง โดยมีระบบบำบัดมลพิษอากาศและจัดการเถ้าที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง
  • โรงงานปรับเสถียรกากของเสียที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม : เป็นการเปลี่ยนสภาพกากของเสียอันตรายให้มีความเป็นอันตรายหรือเป็นพิษน้อยลงด้วยวิธีปรับสภาพความเป็นกรดด่างของกากของเสียให้มีค่าเป็นกลาง และทำให้เป็นของแข็งโดยผสมกับปูนซีเมนต์ เพื่อห่อหุ้มกากของเสีย ป้องกันการชะล้าง เพื่อให้กากของเสียอยู่ในสภาพคงตัวก่อนนำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย

     3.2 ประเภทหรือชนิดโรงงานลักษณะที่ 105 เป็นโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ลักษณะกิจการที่ดำเนินการ คือ

    • โรงงานคัดแยกกากของเสีย : เป็นการแบ่งแยกกากของเสียโดยกากของเสียที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกจะถูกส่งไปยังโรงงานต่างๆ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์อีก และจัดการส่วนที่เหลือจากการคัดแยกอย่างถูกต้องต่อไป
    • โรงงานฝังกลบกากของเสีย : เป็นการนำกากของเสียไปฝังกลบในหลุมฝังกลบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หลุมฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) และหลุมฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secure Landfill)

       3.3 ประเภทหรือชนิดโรงงาน ลักษณะกิจการที่ 106 เป็นการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้งานแล้ว หรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม ลักษณะของโรงงานเป็นการนําผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงานมาผลิตเป็นวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม ลักษณะกิจการที่ดำเนินการ คือ เป็นการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงาน มาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น

      • การตาก การอบ หรือการขจัดความชื้นจากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร
      • การบดหรือการล้างผลิตภัณฑ์แก้ว
      • การบดย่อยคอนกรีต อิฐ กระเบื้อง และเซรามิกส์ (Demolition Waste) ให้เป็นมวลหยาบหรือมวลละเอียด (Coarse and Fine Aggregates)
      • การบดย่อยตะกรันจากการหลอมหล่อโลหะ
      • การทำสารปรับปรุงคุณภาพดินจากกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพ
      • การทำสารปรับปรุงคุณภาพดินจากสารอนินทรีย์ที่ไม่เป็นของเสียอันตราย
      • การกรองหรือการแยกสิ่งปนเปื้อนจากน้ำมันพืชที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอื่น
      • การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซล) จากน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ที่ไม่ใช้แล้วหรือจากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตร
      • การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอเอทานอล) จากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตรu
      • การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอก๊าซ) จากการย่อยสลายกากตะกอนชีวภาพหรือจากของเสียอุตสาหกรรมการเกษตรในถังปฏิกิริยา (Sludge Digester)

      ..

      การเลือกผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor) ที่ได้มาตรฐาน

      ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ โรงงานผู้ก่อกำเนินกากอุตสาหกรรม จำเป็นต้องเลือกผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรมที่น่าเชื่อถือและมีระบบการจัดการที่ได้มาตรฐาน อาทิเช่น โรงงานที่ได้รับตราสัญลักษณ์มาตรฐานโรงงานจัดการกากอตสาหกรรมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานที่ได้รับรองอุตสาหกรรมสีเขียว อย่างน้อยระดับ 3 ของกระทรวงอุตสาหกรรม โรงงานที่ได้รับรองมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory for Waste Processor) ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไท ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ โรงงานผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรมที่มีระบบการจัดการ เทคโนโลยีที่มั่นใจได้ว่ากากอุตสาหกรรมถูกนำไปจัดการอย่างเหมาะสม ตามลักษณะกากอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น เป็นต้น และผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรมมีการดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

      เนื่องจาก “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2566” ที่นำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือเป็นผู้รับผิดชอบ (Polluter Pays Principle: PPP) มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ กำหนดความรับผิดชอบตั้งแต่ต้นทางโรงงานผู้ก่อกำเนิด ไปจนกว่าสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจะได้รับการจัดการจนแล้วเสร็จ ดังนั้น โรงงานผู้ก่อกำเนิดจึงต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนจะเลือกใช้บริการ

      ————————-

      บรรณานุกรม

      กรมโรงงานอุตสาหกรรม. คู่มือการดำเนินการพัฒนายกระดับมาตรฐานการให้บริการบำบัด/กำจัดกากของเสีย.กรุงเทพฯ : กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม, ๒๕๖๔.

      ]]>
      https://fti.or.th/2024/04/03/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%95%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1-%e0%b8%88/feed/ 0
      ธุรกิจของคุณเป็น ESG หรือไม่ ? https://fti.or.th/2023/12/29/%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99-esg-%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84/ https://fti.or.th/2023/12/29/%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99-esg-%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84/#respond Fri, 29 Dec 2023 05:53:37 +0000 https://fti.or.th/?p=52463

      ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเชื่อว่าหลายคนคงจะได้ยินคำว่า ESG” บ้างแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและการลงทุน ที่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลงทุน เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก ที่มุ่งหวังเพียงแค่ผลกำไรอย่างเดียว โดยเริ่มจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่

      1. สิ่งแวดล้อม (Environmental) มีการคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในระหว่างกระบวนการดำเนินธุรกิจ
      2. สังคม (Social) มีการจัดการความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงาน/ลูกจ้าง ลูกค้า ชุมชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
      3. ธรรมาภิบาล (Governance) มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย

      ปัจจุบันแนวคิด ESG นี้กลายเป็นแนวทางการลงทุนที่เหล่านักลงทุนทั้งในและนอกประเทศให้ความสนใจที่จะลงทุนในระยะยาวมากขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็น “ระบบลงทุนใหม่สู่ธุรกิจสีเขียว”

      :

      นอกจากนี้ประเด็นความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนระดับโลก รวมทั้งความชัดเจนของการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) ที่ผ่านมา ได้เน้นย้ำถึงเป้าหมายการรักษาระดับไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และตระหนักว่าจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 43 ภายในปี 2573 และร้อยละ 60 ภายในปี 2578 นั้น ยิ่งเป็นตัวผลักดันสำคัญให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและการลงทุนต้องปรับแก้บริบทของการดำเนินกิจการ และที่สำคัญกว่านั้นคือ ยังเป็นบทพิสูจน์ของธุรกิจอีกด้วยว่า จะสามารถรักษาความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดได้อย่างไร

      :

      สำหรับ ESG ในประเทศไทย เริ่มมีหลายธุรกิจอุตสาหกรรมที่ลงทุนด้าน ESG มากขึ้น ทั้งนี้ ข้อมูลจาก The Sustainability Yearbook 2023 โดย S&P Global ได้มีการประเมินความยั่งยืนขององค์กรทั่วโลก (Corporate Sustainability Assessment: CSA) ซึ่งพิจารณาจากรายชื่อบริษัททั่วโลกมากกว่า 7,800 แห่ง ครอบคลุมทุกหมวดหมู่อุตสาหกรรม มีคะแนนตั้งแต่ระดับ Top 1 %, Top 5 % และ 10 % ตามลำดับ หากบริษัทใดต้องการระดับ Top 1 % บริษัทนั้นต้องได้ผลคะแนนประเมินตั้งแต่ 85 คะแนน จาก 100 คะแนน และเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยมี 12 บริษัท ที่ได้รับการประเมินในระดับ Top 1 % ในครั้งนี้ด้วย ได้แก่

      1. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

      2. บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

      3. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 

      4. บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)   

      5. บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 

      6. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

      7. บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน)

      8. บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 

      9. บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) 

      10. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)             

      11. บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน)  

      12. บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน)

      :

      ยังมีบริษัทไทยที่ได้ผลคะแนนระดับ Top 5 % และ 10 % สามารถคลิกเข้าไปค้นหาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.spglobal.com/esg/csa/yearbook/2023/ranking/#

       :

      แม้ว่าแนวคิด ESG จะเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามอง จนหลายธุรกิจหยิบมาใช้เพื่อประโยชน์ในแง่การลงทุน และสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจโดดเด่นเหนือคู่แข่งก็ตาม แต่เหนือสิ่งอื่นใดแล้ว แนวคิด ESG ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรให้ความสำคัญเพื่อความยั่งยืนในอนาคต อย่าให้เป็นเพียงแค่ “กระแส หรือเทรนด์”

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/12/29/%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99-esg-%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84/feed/ 0
      เตรียมรับศึกออนไลน์ปี 2567 ใครอยู่สายนี้มีลุ้น https://fti.or.th/2023/12/26/%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%b5-2567/ https://fti.or.th/2023/12/26/%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%b5-2567/#respond Tue, 26 Dec 2023 06:38:36 +0000 https://fti.or.th/?p=52402

      ปัจจุบันนี้เราไม่สามารถปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมออนไลน์ได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา คนไทยปรับตัวและยอมรับกับแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือออนไลน์มากขึ้น จนนำมาซึ่งการแข่งขันทางธุรกิจเพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มยอดขาย โดยมีการนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย รวมถึงครอบคลุมทุกความต้องการ ทั้งนี้ ธุรกรรมออนไลน์ยังเป็นแรงผลักดันสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้เติบโตและมั่นคงยิ่งขึ้น

      :

      สำหรับในปี 2567 สายธุรกิจออนไลน์จะมีการแข่งขันที่ร้อนแรงและเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการที่เอื้อให้เกิดการแข่งขันและแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ไม่ว่าจะเป็น การเติบโตของตลาดออนไลน์ (E-Commerce) การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ง่ายขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนการนำเครื่องมือต่าง ๆ มาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคและเสริมประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) การฟังเสียงของผู้บริโภคบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Listening) ส่งผลให้เกิดการปรับตัวและเร่งพัฒนาโมเดลธุรกิจในยุคดิจิทัล เช่น ราคา คุณภาพ ช่องทางการซื้อขาย การชำระเงินแบบดิจิทัล เป็นต้น

      :

      ตัวอย่างของสายธุรกิจออนไลน์ที่ควรเตรียมพร้อมรับศึกในปี 2567 ได้แก่

      • Social Commerce คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและมาแรงขึ้นอีก เนื่องจากผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าและบริการผ่านโซเชียลมีเดียมากขึ้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเติบโตของการใช้งานโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, TikTok, Reels เป็นต้น ซึ่งในปี 2567 คาดว่าจะได้เห็นความหลากหลายและประสิทธิภาพในการสร้างสรรค์คอนเทนต์มากขึ้นอีก โดยเฉพาะการให้ความสำคัญและการลงทุนกับคอนเทนต์ (Payment Platform) เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และที่สำคัญต้องไม่ลืมกฎเหล็กต้องห้ามของแต่ละแพลตฟอร์มให้ดีด้วย เพื่อจะได้ไม่โดนปิดกั้นคอนเทนต์หรือโดนลบสินค้าออกจากแพลตฟอร์ม
      • Live Commerce ซึ่งเป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านวิดีโอสดบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่จะมาสอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น Facebook Live, Instagram Live เป็นต้น ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันและจะโดดเด่นในปี 2567 เพื่อตอกย้ำกระแส Shoppertainment (มาจากคำว่า Shopping+Entertainment ในการสร้างประสบการณ์และความบันเทิงให้กับลูกค้าระหว่างชอปปิง) ยิ่งกว่านั้น กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) และกลุ่มดีอินฟลูเอนเซอร์ (Deinfluencer) ที่ทรงอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ/ขายสินค้าและเชื่อมต่อกับแบรนด์ ซึ่งจะมีความหลากหลายและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ที่น่าจับตาก็คือ กลุ่มดีอินฟลูเอนเซอร์ ที่คาดว่าจะมีความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อสร้างคอนเทนต์เตือนภัยผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการต่าง ๆ รวมทั้งมือไลฟ์ขายของก็อาจจะเกิดเป็นอาชีพมากขึ้นในอนาคตด้วย และที่สำคัญรูปแบบนี้ยังสามารถช่วยป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ได้อีกทางหนึ่ง
      • Marketplace ตลาดขายของบนโลกออนไลน์ จะเริ่มปรับตัวใหม่โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้ามากขึ้น ด้วยการนำเสนอฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขายและผู้ซื้อหนีไปใช้ Social Commerce เช่น การค้นหาสินค้า/บริการที่สะดวกและรวดเร็ว การรีวิวสินค้า การบริการหลังการขาย เป็นต้น
      • ตลาด B2B (Business to Business) และ B2C (Business to Consumer) มีแนวโน้มเติบโตไปพร้อม ๆ กัน ส่วนตลาด C2C (Consumer to Consumer) ซึ่งเป็นตลาดการค้าขายระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง ก็ไม่ควรมองข้าม เพราะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากหลายด้าน เช่น การขยายตัวของตลาดมือสอง ตลาดสด และแพลตฟอร์ม Social Commerce เป็นต้น
      • ตลาด Cross-border เป็นตลาดการค้าขายสินค้าหรือบริการระหว่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์โดยผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้อยู่ในประเทศเดียวกัน ซึ่งแตกต่างจากตลาดการค้าระหว่างประเทศแบบดั้งเดิม ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะพบกันแบบตัวต่อตัว นอกจากนี้การเติบโตของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ยิ่งเป็นแรงส่งให้ตลาด Cross-border มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจ Cross-border ยังมีความเสี่ยงและข้อจำกัดบางประการซึ่งผู้ประกอบการที่สนใจควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดนี้ให้ดี เช่น ความซับซ้อนทางกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศอาจแตกต่างกัน ความท้าทายด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศอาจใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจกระทบการส่งสินค้า เป็นต้น

      ————————————-

      ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสายไหนก็ต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค นอกจากสร้างประสบการณ์ที่ดีและเป็นประโยชน์ให้กับผู้บริโภคแล้ว ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่อาจเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น

      :

      ส่วนในมุมของผู้บริโภคยุคใหม่ต่างก็ต้องการข้อมูลที่เป็นกลาง ไม่โฆษณาเกินจริง และเชื่อถือได้ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั้น โดยเพจบันทึกการตลาด ได้เปิดเผยว่า 51 % ต้องการความจริงใจ 49 % ชอบความมีอารมณ์ขัน และ 42 % ชอบคนที่มีความเชี่ยวชาญ แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมผู้บริโภคยังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปในอนาคตอีก เนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือเงินเฟ้อ อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายโดยหันมาซื้อสินค้าหรือบริการที่จำเป็นเท่านั้น

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/12/26/%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a8%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b9%8c%e0%b8%9b%e0%b8%b5-2567/feed/ 0
      “Gen Z” ว่าที่แรงงานยุคใหม่ที่องค์กรต้องเข้าใจ https://fti.or.th/2023/12/25/gen-z-%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88/ https://fti.or.th/2023/12/25/gen-z-%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88/#respond Mon, 25 Dec 2023 04:14:53 +0000 https://fti.or.th/?p=52336

      คำว่า “Gen Z” ย่อมาจาก Generation Z ซึ่งหมายถึง Generation After Millennials หรือกลุ่มคนรุ่นหลังมิลเลนเนียล โดย Gen Z เป็นกลุ่มคนรุ่นที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540-2555 (บางแหล่งข้อมูลเริ่มปี พ.ศ. 2538-2555) ที่เติบโตมาพร้อมกับยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และพอใจกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จนถูกตั้งฉายาว่าเป็น “Digital Natives” และไม่เพียงกำลังมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานในองค์กรมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อตลาดแรงงานในอนาคตอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะด้านดิจิทัล และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีความแตกต่างจากคนรุ่นก่อน ๆ

      :

      Gen Z” ว่าที่แรงงานยุคใหม่ใช่หรือไม่

      ใช่ จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับยุคเทคโนโลยีดิจิทัล และโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ก็ต้องการดึงดูดกลุ่มคนรุ่นนี้เข้ามาทำงานเพื่อเป็นตัวเร่งในการพัฒนาผลงานและผลิตภัณฑ์ธุรกิจให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมถึงการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ที่กล้าคิดและกล้านำเสนอ ซึ่งทักษะเหล่านี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงานปัจจุบัน  

       โดยข้อมูลจาก World Economic Forum ระบุว่า ภายในปี 2568 คนกลุ่ม Gen Z จะมีสัดส่วนราว 30 % ของพนักงานทั่วโลก นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนรุ่นก่อนแล้ว กลุ่ม Gen Z มีความสามารถในการแข่งขันและเป็นอิสระมากกว่า อีกทั้งแนวคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการทำงานและเทคโนโลยีจะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมการทำงานขององค์กรในระดับที่สูงขึ้นในอีกไม่ช้า

      :

      องค์กรจำเป็นต้องเข้าใจคนกลุ่ม Gen Z ?

      เพื่อดึงดูดและรักษาคนเก่งกลุ่ม Gen Z ในองค์กร รวมถึงตอบสนองในสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาคาดหวัง ดังนั้น องค์กรจึงจำเป็นต้องเข้าใจพฤติกรรม และค่านิยม พร้อมปรับตัวให้เข้ากับแรงงานยุคใหม่ ตัวอย่างเช่น การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดทัศนคติที่แตกต่างจากกลุ่มคนรุ่นก่อน (การทำงานที่ทุ่มเทสุดชีวิต) การสร้างโอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพ ความยืดหยุ่นในการทำงาน (เช่น การทำงานจากที่บ้าน) การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Work)

      แม้ว่ากลุ่มคนรุ่นนี้จะดูอายุน้อย หลากหลาย และต่อต้านวัฒนธรรมการทำงานแบบเก่า (Lazy Girl Jobs) ในสายตาของกลุ่มคนรุ่นก่อน แต่ก็ใช่ว่าจะเข้าไม่ถึง โดยองค์กรสามารถศึกษาข้อมูล พูดคุยกับพวกเขา และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพราะอย่างน้อยองค์กรก็สามารถเก็บมาเป็นข้อมูลในการกำหนดทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาองค์กรได้อีกวิธีหนึ่ง

      :

      องค์กรจะใช้พลังจากคนกลุ่ม Gen Z ได้อย่างไร

      เมื่อเข้าใจและปรับตัวเข้ากับคนกลุ่ม Gen Z ได้แล้ว ควรมอบหมายงานที่มีคุณค่าและเปิดโอกาสให้คนกลุ่ม Gen Z มีส่วนร่วมในการแสดงออกถึงทักษะความสามารถ เพื่อให้พวกเขารู้สึกภาคภูมิใจในงานที่ได้รับมอบหมาย มีความสุขในงานที่ทำ และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

      อย่างไรก็ดี อินสตราแกรมได้เปิดเผยผลสำรวจ 2024 Instagram Trend Talk เพื่อจับกระแสความสนใจของคนกลุ่ม Gen Z ในปี 2567 บนอินสตราแกรม ตั้งแต่แฟชั่นและความงาม โซเชียลมีเดีย การหาคู่ ไลฟ์สไตล์ อาหาร เป็นต้น ได้อย่างน่าสนใจ หากองค์กรอยากจะทราบว่าปีหน้าคนกลุ่ม Gen Z จะมีลักษณะเป็นแบบไหนเพื่อนำมาปรับใช้ในองค์กร สามารถคลิกอ่านได้ที่ลิงก์ https://about.instagram.com/blog/announcements/instagram-trend-talk

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/12/25/gen-z-%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88/feed/ 0
      10 เทรนด์ “เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์” 3 ปีข้างหน้ามาแน่ ! https://fti.or.th/2023/12/15/10-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5/ https://fti.or.th/2023/12/15/10-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5/#respond Fri, 15 Dec 2023 04:50:43 +0000 https://fti.or.th/?p=52164

      เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ (Strategic Technology) เป็นเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรและธุรกิจในระยะยาว ซึ่งมักเป็นเทคโนโลยีใหม่หรือเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่จำเป็นต้องติดตามและพิจารณานำไปใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในโลกยุคดิจิทัล ตัวอย่างของเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) คลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ในการเก็บข้อมูล ที่ทำในรูปแบบออนไลน์ ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) ซึ่งเป็นการจำลองสภาพแวดล้อมจริงให้เสมือนจริง และความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality: AR) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบสภาพแวดล้อมจริง ๆ เป็นต้น

      :

      ในบทความนี้ชวนมาติดตามเทรนด์ “เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ (Strategic Technology)” ที่องค์กรและธุรกิจจะต้องเผชิญในอีก 3-5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในปี 2567 ที่จะถึงนี้มีเทรนด์อะไรน่าจับตาและต้องติดตามบ้าง เพื่อให้องค์กรและธุรกิจได้เตรียมพร้อม ซึ่งการ์ทเนอร์ (Gartner) บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก  คาดการณ์ไว้ 10 เทรนด์ ได้แก่

      1. AI Trust, Risk and Security Management (AI TRiSM) เป็นเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญโดยมุ่งเน้นไปที่การจัดการเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ความเสี่ยง และความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งคาดการณ์ว่าภายในปี 2569 องค์กรต่าง ๆ ที่ใช้การควบคุมของ AI TRiSM จะเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจด้วยการกำจัดข้อมูลที่ผิดพลาดและผิดกฎหมายได้ถึง 80 %
      1. Continuous Threat Exposure Management (CTEM) เป็นเทคโนโลยีจัดการความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถประเมินความเสี่ยงและรับมือได้อย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2569 องค์กรต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านความปลอดภัยใน CTEM ซึ่งจะช่วยให้การละเมิดลดลง 2 ใน 3
      2. Sustainable Technology เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลเพื่อสร้างผลลัพธ์ในระยะยาว
      1. Platform Engineering เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาภายในด้วยตนเอง เพื่อตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจและเพิ่มประสบการณ์แก่ผู้ใช้ผ่านแพลตฟอร์ม
      2. AI-Augmented Development เทคโนโลยี AI จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิศวกรซอฟต์แวร์ในการทดสอบแอปพลิเคชัน และการเขียนโค้ด ซึ่งจะช่วยให้วิศวกรซอฟต์แวร์ใช้เวลาเขียนโค้ดน้อยลง
      3. Industry Cloud Platforms (ICPs) ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ที่ผสมผสานความสามารถระหว่างซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ม และโครงสร้างพื้นฐานเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับอุตสาหกรรม โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2570 องค์กรมากกว่า 50 % จะหันมาใช้แพลตฟอร์มคลาวด์อุตสาหกรรมเพื่อเร่งสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่รวมการบริการซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน เช่น Software as a Service (SaaS), Platform as a service (PaaS), Infrastructure-as-a-Service (IaaS)
      1. Intelligent Applications โดยการนำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับจัดการและเชื่อมต่อข้อมูลจากภายนอก เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าและธุรกิจได้อย่างหลากหลายในยุคดิจิทัล ซึ่งคาดการณ์ว่าภายในปี 2569 30 % ของแอปพลิเคชันใหม่จะใช้ความอัจฉริยะของ AI เข้ามาช่วยขับเคลื่อนและปรับใช้การทำงานมากขึ้น
      2. Democratized Generative AI กระแสความนิยมของ Generative AI ที่กำลังมาแรงและมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะสามารถสร้างสรรค์ไอเดีย ทั้งเนื้อหา รูปภาพ ตัดต่อวิดีโอ ข้อความ งานออกแบบ และอื่น ๆ ซึ่งทักษะในด้านนี้มีความต้องการสูง โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2569 องค์กรมากกว่า 80 % จะมีการนำ Generative AI มาปรับใช้ และคาดอีกว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าในปี 2566 มากกว่า 5 %
      1. Augmented Connected Workforce (ACWF) เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมโยงการทำงานของคนเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและทักษะความสามารถให้มากขึ้น โดยคาดการณ์ไปจนถึงปี 2570 ว่า ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงจะเริ่มให้มีการเชื่อมโยงการทำงานของคนเข้าด้วยกันมากขึ้น เพื่อลดเวลาการทำงานลง 50 %
      2. Machine Customers จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจ ซึ่งมีความสามารถในการสั่งซื้อสินค้า การเจรจาต่อรอง การบริการ จนถึงการชำระเงินของลูกค้าที่มาในแบบไม่ใช่คน (ลูกค้าเครื่องจักร) ซึ่งเป็นการทำธุรกรรมที่มีความซับซ้อน จึงคาดการณ์ว่าภายในปี 2573 จะมีความสำคัญอย่างมากเมื่อการค้าดิจิทัล (Digital Commerce) มาถึง

       

      ——————————

      เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์นี้ไม่ได้มาอย่างกะทันหัน ดังนั้น องค์กรหรือธุรกิจควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยประเมินและติดตามเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ พร้อมศึกษาแนวทางการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ ตลอดจนเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกลยุทธ์และเป้าหมาย ที่สำคัญและขาดไม่ได้ก็คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และฝึกฝนการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในสภาพแวดล้อมจริง ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้องค์กรหรือธุรกิจมากยิ่งขึ้น

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/12/15/10-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5/feed/ 0
      เทรนด์รถยนต์ EV ในตลาดโลกกับความพร้อมการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย https://fti.or.th/2023/12/11/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c-ev-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81/ https://fti.or.th/2023/12/11/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c-ev-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81/#respond Mon, 11 Dec 2023 05:40:34 +0000 https://fti.or.th/?p=51937

      อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอันดับต้น ๆ ตลอดจนเกี่ยวเนื่องกับซัพพลายเชน ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Hub of Asia Pacific) จนถูกขนานนามว่าเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia) หากมองในแง่ของอาเซียน ไทยยังคงเป็นอันดับหนึ่งอยู่ ทั้งเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย พื้นที่ภูมิศาสตร์ บวกกับทักษะบุคลากรที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นแต้มต่อให้ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีข่าวย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นก็ตาม

      :

      แต่เมื่อกระแสและบริบทโลกยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับมิติสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมต้องไม่มีการปล่อยมลพิษ ส่งผลให้กระแสยานยนต์ไฟฟ้า หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า รถ EV (Electric Vehicle) เข้ามาแทนที่เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ซึ่งขณะนี้มีผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายเริ่มปรับตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ

      :

      ประกอบกับเมื่อเร็ว ๆ นี้ภาครัฐได้เปิดไฟเขียวสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า พร้อมผลักดันให้ไทยเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาคเพื่อกระตุ้นการลงทุนในประเทศมากขึ้น ตลอดจนนโยบายสนับสนุนการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต ตามประกาศเจตนารมณ์ที่จะสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)ภายในปี 2608 ก็ยิ่งเป็นการสำทับเรื่องมิติสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

      :

      การเติบโตของตลาดรถ EV ต้องยอมรับว่าช่วงแรก ๆ ยังไม่ได้รับความสนใจจากผู้ใช้มากเท่าที่ควร เพราะยังมีความลังเลว่าแบบไหนดีกว่าและคุ้มกว่ากัน ระหว่างรถ EV กับรถที่ใช้น้ำมัน แต่ปัจจุบันเริ่มคึกคักบ้างแล้ว โดยสังเกตว่ามีหลายแบรนด์/รุ่นรถ EV จากต่างประเทศเข้ามาเปิดตลาดและตั้งฐานการผลิตที่ไทยอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งในแง่ทิศทางการลงทุนของอุตสาหกรรมนี้มีโอกาสเติบโตสูงทีเดียว

      :

      ทั้งนี้ ข้อมูลจากกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เปิดเผยจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงและจดทะเบียนสะสม ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2565 โดยแบ่งออกเป็น

      • ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า (Battery Electric Vehicle: BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 9,808 คัน เพิ่มขึ้นจากตุลาคม 2565 ร้อยละ 41 และจดทะเบียนสะสมมีจำนวน 109,488 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 312.74
      • ประเภทรถยนต์ไฟฟ้าผสม (Hybrid Electric Vehicle: HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 6,613 คัน ลดลงจากตุลาคม 2565 ร้อยละ 31 และจดทะเบียนสะสมมีจำนวน 330,771 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 31.91
      • ประเภทรถยนต์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (Plug-in Hybrid Electric Vehicle: PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 849 คัน เพิ่มขึ้นจากตุลาคม 2565 ร้อยละ 56 และจดทะเบียนสะสมมีจำนวนทั้งสิ้น 52,677 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 29.14

      :

      จากภาพรวมดูเหมือนว่ารถ EV จะเป็นเมกะเทรนด์ของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ แต่อีกด้านหนึ่งถือว่ายังมีอุปสรรคและความท้าทายอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนแบตเตอรี่ การบำรุงดูแลรักษา ความปลอดภัยของอุปกรณ์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ และเวลาในการชาร์จไฟฟ้านานที่ถือว่าเป็นจุดอ่อน

      :

      สำหรับในปี 2567 ต้องจับตาดูต่อว่า นอกจากผู้ผลิต 4 ค่ายยักษ์ใหญ่จากสัญชาติจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป ที่ทยอยกันออกมาแล้วจะมีผู้ผลิตจากประเทศใดเข้ามาลงทุนผลิตในไทยอีกบ้าง ซึ่งน่าจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งระบบนิเวศของรถ EV (EV Ecosystem) ภายในประเทศเพื่อให้เกิดแรงจูงใจ เช่น สถานีชาร์จไฟฟ้าต้องทั่วถึง มาตรการและนโยบายทางภาษี เป็นต้น

      —————-

      ข้อควรรู้ (อ้างอิงข้อมูลจาก ความรู้ยานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้น โครงการศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สถาบันยานยนต์)

      ยานยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle คือยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว หรือทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท  ได้แก่

      • ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสม หรือไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle, HEV) ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อน แบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ Micro Hybrid (Start & Stop) Mild Hybrid (MHEV) และ Full Hybrid (FHEV)
      • ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานผสมแบบเสียบปลั๊ก หรือปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle, PHEV) ลักษณะการทำงานและชิ้นส่วนคล้ายไฮบริด แต่มีระบบประจุไฟฟ้าจากภายนอก เพื่อให้สามารถขับขี่ได้ระยะทางไกลกว่า แต่มีราคาสูงเนื่องจากใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่
      • ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle, BEV) ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนเพียงอย่างเดียว โดยผู้ผลิตรถยนต์บางรายติดตั้งเครื่องยนต์เพื่อทำหน้าที่ปั่นไฟเพื่อเพิ่มระยะทางในการใช้งาน เรียกว่า Range Extender Battery Electric Vehicle (REEV)
      • ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV) ใช้มอเตอร์เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน แต่แหล่งที่มาของพลังงานเป็นก๊าซไฮโดรเจน ทำให้สามารถเก็บพลังงานได้มากกว่ารถ BEV ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการวิจัย และยังไม่มีการผลิตในเชิงพาณิชย์
      ]]>
      https://fti.or.th/2023/12/11/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%a3%e0%b8%96%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%8c-ev-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81/feed/ 0
      ส่อง 3 เทรนด์หนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์…รู้ก่อน ปรับตัวก่อน https://fti.or.th/2023/11/29/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87-3-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4/ https://fti.or.th/2023/11/29/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87-3-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4/#respond Wed, 29 Nov 2023 07:21:15 +0000 https://fti.or.th/?p=51726

      เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คืออะไร
           สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ระบุนิยามคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)” ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2561 คือ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทางปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม

      อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย ประกอบด้วย 15 สาขา โดยจำแนกออกเป็น
      – กลุ่มรากฐานทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Originals) ได้แก่ 1) งานฝีมือและหัตถกรรม 2) ดนตรี 3) ศิลปะการแสดง 4) ทัศนศิลป์
      – กลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ (Creative Content/Media) ได้แก่ 5) ภาพยนตร์ 6) การแพร่ภาพและกระจายเสียง 7) การพิมพ์ 8) ซอฟต์แวร์
      – กลุ่มบริการสร้างสรรค์ (Creative Services) ได้แก่ 9) การโฆษณา 10) การออกแบบ 11) การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม
      – กลุ่มสินค้าสร้างสรรค์ (Creative Goods/Products) ได้แก่ 12) แฟชั่น
      – กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (Related Industries) 13) อาหารไทย 14) การแพทย์แผนไทย 15) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

      :

      ส่อง 3 เทรนด์หนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์

           ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ยิ่งยุคนี้เป็นยุคของการใส่ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความแตกต่าง ความหลากหลาย คุณสมบัติที่ยอดเยี่ยม และความทันสมัยเหนือคู่แข่ง ก็สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภค เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอดจนการจ้างแรงงานสร้างสรรค์ที่ต้องเติบโตไปพร้อมกัน ทั้งนี้ หากธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถเชื่อมโยงกับความคิดสร้างสรรค์ได้ก็จะช่วยขับเคลื่อนให้กลไกของเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นพัฒนาและยั่งยืนขึ้นอีก โดยในบทความนี้ขอเสนอ 3 เรื่องสำคัญที่คาดว่าจะเป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในอนาคตอันใกล้นี้และรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่ เทคโนโลยีดิจิทัล สังคมคาร์บอนต่ำ และสังคมสูงวัย

      • เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)

             ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลก้าวหน้าและพัฒนาไวยิ่งกว่าปรอท แทรกซึมไปทุกธุรกิจอุตสาหกรรม และกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก ที่สำคัญผู้ที่ประกอบสายอาชีพไม่เสี่ยงตกงานด้วย เพราะเป็นสายงานเฉพาะทาง

           อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้เกิดการพัฒนากระบวนการและสินค้า เช่น การทำตลาดออนไลน์ การบริหารจัดการร้านอาหาร การใช้เทคโนโลยีบลอกเชน การพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ AI เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีธุรกิจอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่หันมาให้ความสำคัญและมองเห็นโอกาสการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ดังนั้น แรงงานที่มีทักษะความสามารถด้านดิจิทัลซึ่งเป็นลักษณะทางเทคนิคอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ร่วมด้วย ธุรกิจอุตสาหกรรมถึงจะไปต่อได้อย่างยั่งยืน

           ในมุมมองวิจัยของธนาคารกรุงศรี ได้เปิดเผยแนวโน้มธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์ ปี 2566-2568 ว่า ในช่วงปี 2566-2568 ธุรกิจนี้มีศักยภาพในการเติบโตของรายได้อย่างต่อเนื่องในทุกกลุ่มธุรกิจย่อย โดยเฉพาะธุรกิจบริการดิจิทัลที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของผลประกอบการ โดยรายได้ของธุรกิจบริการดิจิทัลและซอฟต์แวร์โดยรวม คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 19.0-20.0 % แบ่งออกเป็น 1) บริการดิจิทัล รายได้มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 22.0-23.0 % 2) ซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ รายได้มีแนวโน้มขยายตัว 11.0-12.0 % และ 3) ดิจิทัลคอนเทนต์ รายได้มีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น 13.0-14.0 %

      • สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)

           “สังคมคาร์บอนต่ำ” เป็นคำที่ได้ยินบ่อยมากขึ้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส แต่การจะไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้นั้นทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัว ตื่นตัว และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ทั้งนี้ ในมุมของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นได้ทั้งโอกาสและแรงกดดันที่ต้องผลิตสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เช่น สินค้าที่ใช้วัตถุดิบย่อยสลายง่ายและกลับมาใช้ซ้ำได้ บรรจุภัณฑ์ดีไซน์ทันสมัยดูรักษ์โลก สินค้าติดฉลากคาร์บอนที่แสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นต้น

           นอกจากนี้ การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 28 (Conference of the Parties: COP 28) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม 2566 นี้ หนึ่งในเป้าหมายของการประชุม คือ การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้อุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ประกอบกับเทรนด์เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) ยิ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญในการปรับตัวและผลักดันการลงทุนของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งต่อไปนักลงทุนจะให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) มากขึ้น

      • สังคมสูงวัย (Aging society)

      ในแต่ละปีมีจำนวนผู้สูงวัยที่อายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบกับสังคม นโยบายเศรษฐกิจ และขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีการคาดการณ์ว่าในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super-Aged Society) เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนสูงถึง 28 % ของประชากรทั้งหมด ซึ่งผู้สูงวัยจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพทั้งกายและการกินอยู่ รวมถึงการปรับสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัย

      ประเด็นน่าสนใจคือ การเตรียมรับมือสังคมสูงวัย (ผู้ที่มีอายุ 50-59 ปี) จะเตรียมความพร้อมให้กับตนเองก่อนเป็นผู้สูงวัยในอนาคตได้อย่างไร เพื่อให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศและไม่เป็นภาระลูกหลาน

      อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจซึ่งถือเป็นความท้าทายและโอกาสในการรับมือเพื่อจะตอบโจทย์ รวมถึงจะเปลี่ยนโลกของสังคมสูงวัยอย่างไร เช่น อาหารทางการแพทย์ของผู้สูงวัย (Medical Foods) ซึ่งเป็นเทรนด์ธุรกิจแห่งอนาคต โรงพยาบาลหรือธุรกิจดูแลผู้สูงวัย การนำนวัตกรรมมาใช้กับผู้สูงวัยในยุคดิจิทัล เช่น อุปกรณ์ดิจิทัล* พบว่า 37.9 % ไม่รู้วิธีการใช้งานหรือไม่เข้าใจเมนูคำสั่งที่เป็นภาษาอังกฤษ 43.0 % ผู้สูงวัยที่เคยประสบภัยในการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เป็นต้น (* ที่มา : สารสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประจำเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566)

      ———————

           การมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างมูลค่าเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยจากแนวความคิดหรือปัจจัยการผลิตในรูปแบบเดิม ๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์เสมอไปสำหรับเศรษฐกิจยุคใหม่ การสร้างมูลค่าเศรษฐกิจโดยใส่ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นอีกแนวทางใหม่ที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้วได้นำเศรษฐกิจสร้างสรรค์บรรจุเป็นแผนนโยบายหลักสำคัญของประเทศ ส่วนประเทศไทยคำนี้อาจจะไม่โด่งดังเท่า Soft Power ในขณะนี้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์จะจับต้องได้ก็ต่อเมื่อได้รับการผลักดันบทบาทอย่างจริงจังและชัดเจนควบคู่กับการยกระดับแรงงานสร้างสรรค์ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างมูลค่าให้เพิ่มมากขึ้น

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/11/29/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87-3-%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%a9%e0%b8%90%e0%b8%81%e0%b8%b4/feed/ 0
      Google Bard ใช้ดีไหมนะ ? … เมื่อ ChatGPT อาจไม่ใช่ทางเลือกเดียว https://fti.or.th/2023/11/24/google-bard-%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b0-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-chatgpt-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88/ https://fti.or.th/2023/11/24/google-bard-%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b0-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-chatgpt-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88/#respond Fri, 24 Nov 2023 05:38:03 +0000 https://fti.or.th/?p=51567

      วงการแชตบอตต้องสั่นสะเทือน และทำให้ผู้ใช้งานอย่างเราตื่นเต้นไปด้วย เมื่อค่ายยักษ์ที่พัฒนา AI Chatbot ออกมาแข่งกันอย่างดุเดือดว่าของใครเก่งกว่ากันระหว่าง ChatGPT” ของ OpenAI และ Microsoft ที่เปิดตัวไปก่อนและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเมื่อเดือนธันวาคม 2565 กับ Bard” ของ Google ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการให้ทดลองใช้งานครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา แต่ด้วยความที่รีบออกมาใช้ ทำให้ข้อมูลเกิดผิดพลาดจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันค่อนข้างมาก จึงต้องกลับไปแก้ไขและพัฒนาออกมาใหม่ จนในที่สุดได้ออกมาประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมานี่เอง

      :

      “Bard” เป็น AI Chatbot จากกูเกิล (Google) โดยเวอร์ชันล่าสุดเรียกว่า PaLM2 (Pathways Language Model version 2) มีโมเดลเบื้องหลังที่เป็นภาษาขนาดใหญ่ เรียกสั้น ๆ ว่า LLM (Large Language Mode) ที่เข้าใจคำถามและคำสั่งของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันรองรับกว่า 100 ภาษาทั่วโลก รวมภาษาไทยด้วย

      :

      Bard เปิดให้สมัครใช้ในไทยแล้ว และเชื่อว่าหลายคนได้ใช้งานบ้างแล้ว สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยใช้ Bard สามารถเข้าไปสมัครและทดลองใช้ด้วยบัญชี Google ได้ที่  https://bard.google.com/ ส่วนใครที่ไม่มีบัญชี Google ก็ทำการสมัครให้เรียบร้อยก่อน

      :

      Bard vs ChatGPT ความที่เหมือนที่แตกต่าง

      Bard และ ChatGPT ต่างเป็นแชตบอตด้วยกันทั้งคู่ก็จริง แต่ความเหมือนย่อมมีความต่าง ซึ่งนอกจากธีมและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้วยังมีรายละเอียดอะไรบ้าง สรุปเปรียบเทียบแบบตัวต่อตัวมาให้แล้วตามตารางด้านล่างนี้

      Bard เบื้องต้นทำอะไรได้บ้าง

      สิ่งที่ถือว่าเป็นทีเด็ดของ Bard ซึ่งอาจทำให้ ChatGPT หนาว ๆ ร้อน ๆ ได้ก็คือ มีการเชื่อมระบบการทำงานที่เป็นบริการของ Google (Eco System) ที่มีอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น Gmail, Google Docs, Google Search, Google Maps, Google Workspace, Google Flights, Youtube เป็นต้น คร่าว ๆ เท่านี้สามารถอนุมานได้เลยว่า Google เอาจริงแน่

      มีตัวอย่างการใช้งานเบื้องต้นที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจ แล้วจะรู้ว่า Bard ไม่ได้ใช้ยากอย่างที่คิด เช่น

      การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เรียบเรียงมาให้ว่ามีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด สังเกตที่ปุ่มไอคอน Google ด้านล่าง เรียกว่า Double-check response มีไว้เพื่อตรวจสอบคำตอบว่าถูกหรือผิด (ปุ่มนี้ใช้กับข้อความภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดีกว่าภาษาไทย) โดยไปสืบค้นแหล่งอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ตมาให้ พร้อมแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็นสี ได้แก่ สีเขียวและสีส้ม พร้อมระบุลิงก์ให้ด้วย (ตามภาพตัวอย่าง) ตรงแถบสีเขียวแสดงว่ามีแหล่งอ้างอิงปรากฏอยู่และสามารถคลิกดูลิงก์ได้ด้วย แต่ถ้าเป็นสีส้มแสดงว่าหาแหล่งอ้างอิงไม่พบ ไม่แน่ใจแหล่งอ้างอิง หรือถูกดัดแปลงมา

      และถ้าไม่ถูกใจคำตอบเราสามารถกดปุ่มไม่ชอบ หรือต้องการแชร์ต่อให้คนอื่นก็ทำได้ง่ายดายเพียงแค่ส่งลิงก์

      ไม่เพียงเท่านี้ คำตอบที่ได้ไม่ใช่คำตอบเดียว โดย Bard ยังมีแนวคำตอบอื่น ๆ ให้เลือกอีกด้วย (ตามภาพตัวอย่าง)

      นอกจากข้อความแล้ว ยังสามารถสั่งเป็นรูปภาพและเสียงได้ หรือทั้งข้อความพร้อมรูปภาพ หรือแม้กระทั่งสร้างตาราง Bard ก็ทำได้อีก (ตามภาพตัวอย่าง)

      ข้อควรระวัง

      ไม่ว่า Bard กับ ChatGPT จะชนกันหนักเพียงใด ซึ่งต่างก็เป็นประโยชน์และสร้างประสบการณ์ที่ดี รวมทั้งเข้าถึงผู้ใช้งานทั้งสิ้น แต่เนื่องจาก Bard เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของ Google จึงกลายเป็นประเด็นความกังวลเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ซึ่งแม้จะออกมาประกาศให้ความมั่นใจก็จริง แต่ก็ไม่อาจทราบได้ว่าจะรักษาได้ในระดับใด ดังนั้น เราในฐานะผู้ใช้งานต้องระมัดระวังโดยหลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลที่เกี่ยวกับองค์กรหรือส่วนบุคคล

       ——————

      สุดท้ายแล้ว ทั้ง Bard กับ ChatGPT อาจจะไม่ใช่ทางเลือกเสมอไป คาดการณ์ว่าอนาคตยังมีตัวใหม่ที่รอจังหวะออกมาอย่างแน่นอน รวมถึงการพัฒนา Bard กับ ChatGPT ในเวอร์ชันที่เก่งขึ้นกว่านี้อีกหลายเท่า ซึ่งคงต้องติดตามข่าวสารกันต่อไป

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/11/24/google-bard-%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%94%e0%b8%b5%e0%b9%84%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b8%b0-%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-chatgpt-%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%88/feed/ 0
      เรื่องนี้ต้องขยาย…14 โปรเจกต์ยักษ์ซาอุฯ พลิกเมืองใหม่จากทะเลทราย โอกาสตลาดไทย https://fti.or.th/2023/11/20/%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a214-%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3/ https://fti.or.th/2023/11/20/%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a214-%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3/#respond Mon, 20 Nov 2023 09:37:54 +0000 https://fti.or.th/?p=51382

      ก่อนหน้านี้หลายคนน่าจะเคยได้ยินโครงการ “นีโอม (Neom)” และโครงการ “เดอะไลน์ (The Line)” ของประเทศซาอุดีอาระเบียกันบ้างแล้ว แต่นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Vision 2030) เท่านั้นเอง และก็มีบางโครงการเดินหน้าไปก่อนประกาศวิสัยทัศน์ฯ แล้ว ซึ่งข้อมูลจากเว็บไซต์ www.vision2030.gov.sa ทำให้ทราบว่าโครงการภายใต้วิสัยทัศน์ฯ มีมากมายและครอบคลุมหลายมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเงิน สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ ความบันเทิง โดยหวังจะนำพาประเทศทะยานไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่จัดเต็มด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ประกอบกับการออกแบบสถาปัตยกรรมสุดล้ำสมัยที่กระจายอยู่หลายพื้นที่ของประเทศ

      :

      นอกจากซาอุฯ มีแผนนำเข้าต้นไม้จากทั่วโลกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวบนทะเลทราย ซึ่งเป็นโอกาสในการส่งออกต้นไม้ไทย 38 พันธุ์แล้ว ยังเป็นโอกาสทางการค้าและการลงทุนของธุรกิจอื่น ๆ อีกด้วย เช่น วัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ความงามและสุขภาพ โลจิสติกส์ ท่องเที่ยว เกษตร พลังงาน ยานยนต์และชิ้นส่วน ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม ค้าปลีก เป็นต้น ในบทความนี้มาดูกันว่าประเทศที่สามารถทุ่มเม็ดเงินผุดอภิมหาโครงการแบบไม่เกรงใจใครมีโครงการอะไรบ้าง ขอหยิบมา 14 โครงการ เริ่มกันที่…

      1. นีโอม (Neom) เป็นโครงการที่มีชื่อเสียงที่สุดและใหญ่ที่สุดของซาอุฯ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ 26,500 ตารางกิโลเมตร เป็นโครงการที่ต้องการจะเปลี่ยนชายฝั่งทะเลแดงให้กลายเป็นเมืองแห่งอนาคตที่ไม่เหมือนใคร ประกอบด้วย 4 โครงการย่อย ได้แก่

      เดอะไลน์ (The Line) เป็นอาคารสูง 500 เมตร และกว้าง 200 เมตร ที่ทอดยาว 170 กิโลเมตร สามารถรองรับผู้คนได้ 9 ล้านคน ที่นี่ไม่มีทั้งถนน รถยนต์ หรือแม้แต่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะใช้พลังงานหมุนเวียน 100 % ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของการพักอยู่อาศัย

      ออกซากอน (Oxagon) เป็นเมืองท่าลอยน้ำทรงแปดเหลี่ยมที่ยื่นออกไปในทะเลแดงโดดเด่นไม่เหมือนใคร โดยตั้งเป้าสู่การเป็นท่าเรือแห่งอนาคตที่ยั่งยืนและศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อเส้นทางการค้าระดับโลกแบบครบวงจร ซึ่งนักพัฒนาโครงการอ้างว่าเป็น “โครงสร้างลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก”

      โทรเจนา (Trojena) เป็นโครงการที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ ตั้งอยู่บนภูเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะ ระดับความสูงมีตั้งแต่ 1,500 เมตร ถึง 2,600 เมตร และครอบคลุมพื้นที่เกือบ 60 ตารางกิโลเมตร สิ่งที่น่าดึงดูดใจไม่เพียงแค่กิจกรรมกลางแจ้งอย่างสกีหิมะเท่านั้น แต่ยังมีห้องพักและโรงแรมมากกว่า 3,600 ห้อง พื้นที่ค้าปลีกและร้านอาหาร และอัฒจันทร์บนภูเขา 3,000 ที่นั่ง เรียกว่าเป็นความท้าทายทางวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมอย่างแท้จริง สำหรับโครงการนี้มีกำหนดเปิดให้บริการในต้นปี 2569 ทั้งนี้ มีการคาดการณ์อีกว่าจะสามารถสร้างงานได้ถึง 10,000 ตำแหน่งงาน ภายในปี 2573

      ซินดาลาห์ (Sindalah) เป็นเกาะขนาด 840,000 ตารางเมตร เป็นที่อยู่ของสัตว์พื้นเมืองมากกว่า 600 สายพันธุ์ โดยตั้งเป้าหมายเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวที่น่าจดจำเหนือผืนน้ำและใต้น้ำ เช่น ท่าจอดเรือ 86 ท่า ยอร์ชคลับ สปาและศูนย์สุขภาพ ร้านค้าปลีกที่เน้นความหรูหรา 51 แห่ง เป็นต้น สำหรับโครงการนี้มีกำหนดต้อนรับแขกในช่วงต้นปี 2567

      2. โรชน์ (Roshn) ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างบ้าน 400,000 หลัง เพื่อตอบสนองชาวซาอุฯ ที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง ซึ่งสร้างเสร็จไปแล้ว 6,000 หลัง และยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 27,000 หลัง นอกจากจะสร้างบ้านแล้ว ยังจะได้เห็นการก่อสร้างมัสยิด 850 แห่ง โรงเรียน 2,400 แห่ง และการปลูกต้นไม้หนึ่งล้านต้น

      3. เดอะ เรดซี (The Red Sea Project) บนพื้นที่ 28,000 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะที่ยังคงความงามตามธรรมชาติมากกว่า 90 เกาะ และสามารถมองเห็นพื้นที่ชายฝั่งของประเทศถูกพัฒนาเป็นรีสอร์ต ซึ่งมีทั้งโรงแรม 50 แห่ง ห้องพัก 8,000 ห้อง และที่พักอาศัย 1,000 แห่ง โครงการนี้คาดว่าจะสร้างเสร็จในปี 2573

      4. ดิริยาห์ (Diriyah) อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองริยาด เป็นเมืองอิฐโคลนที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างสวยงาม ซึ่งว่ากันว่าเป็นแหล่งกำเนิดของราชอาณาจักรซาอุฯ โดยมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนสถานที่นี้ให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่ขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรม และเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะมีโรงแรม 38 แห่ง พิพิธภัณฑ์ 6 แห่ง และสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอีก 26 แห่ง

      5. สวนสาธารณะกษัตริย์ซัลมาน (King Salman Park) ตั้งอยู่ใจกลางของริยาด มีพื้นที่ 16.7 ตารางกิโลเมตร มีเป้าหมายที่จะเป็น “สวนสาธารณะในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก” โดยมีพื้นที่สีเขียวขนาด 11 ตารางกิโลเมตร และต้นไม้หนึ่งล้านต้น และจะรดด้วยน้ำรีไซเคิล 100 % นอกจากนี้สวนสาธารณะแห่งนี้ยังมีสวนสไตล์อิสลาม สวนแนวตั้ง สวนเขาวงกต และเขตรักษาพันธุ์นกและผีเสื้อ

      6. เจดดาห์เซ็นทรัล (Jeddah Central) ครอบคลุมพื้นที่ 5.7 ล้านตารางเมตร เพื่อเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความบันเทิง เช่น โรงละครโอเปรา พิพิธภัณฑ์ สนามกีฬา และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเล ท่าจอดเรือ รีสอร์ตริมชายหาด ร้านอาหาร ร้านกาแฟ แหล่งชอปปิงที่หลากหลาย ที่พักอาศัย 17,000 ยูนิต และห้องพักในโรงแรม 2,700 ห้อง โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2573

      7. กิดดิยา (Qiddiya Project) อยู่ทางทิศตะวันตกของริยาด บนพื้นที่ราว 367 ตารางกิโลเมตร เป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการท่องเที่ยวของประเทศ เพื่อเป็นศูนย์กลางความบันเทิง กีฬา และวัฒนธรรมระดับโลก สนามกีฬา คอนเสิร์ตฮอลล์ สนามแข่ง สนามกอล์ฟ รถไฟเหาะที่ยาวที่สุด สูงที่สุด และเร็วที่สุดในโลก จนได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองหลวงแห่งความบันเทิง กีฬา และวัฒนธรรมใหม่ของซาอุดีอาระเบีย”

      8. มูรับบา (New Murabba) โครงการล่าสุดที่เปิดตัวเมื่อต้นปี 2566 เป็นตึกทรงลูกบาศก์บนใจกลางเมืองแห่งใหม่ของริยาด ชื่อว่า “มูคับ (Mukaab)” สูง 400 เมตร ถูกออกแบบมาเพื่อ “กำหนดเส้นขอบฟ้าใหม่ของริยาด” ให้เป็นย่านการค้าระดับพรีเมียม มีทั้งที่พักอาศัย 104,000 ยูนิต ห้องพักในโรงแรม 9,000 ห้อง สถานบันเทิง 80 แห่ง พื้นที่สำหรับค้าปลีก 300,000 ตารางเมตร และพื้นที่สำนักงาน 1.4 ล้านตารางเมตร

      9. ซาอุดิดาวน์ทาวน์ (Saudi Downtown) เปิดตัวเมื่อปี 2565 ครอบคลุมพื้นที่กว่า 10 ล้านตารางเมตร โดยตั้งเป้าหมายเพื่อจะเปลี่ยน 12 เมือง ให้กลายเป็นสถานที่ที่มีชีวิตชีวาไว้สำหรับการพักอยู่อาศัย ทำงาน และพักผ่อน ได้แก่ อาราร์ (Arar), ดูมัต อัล จันดาล (Dumat Al Jandal), ตะบูก (Tabuk), ฮาอิล (Hail), บูเรดาห์ (Buraydah), มาดินาห์ (Madinah), อัลคอบาร์ (Al Khobar), อัลอาห์ซา (Al Ahsa), ทาอีฟ (Taif), อัลบาฮาห์ (Al Bahah), ญีซาน (Jizan) และนัจราน (Najran)

      10. มาซาร์ (Masar) พื้นที่ยาว 3.6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากมัสยิดเมกกะหรือมักกะฮ์ประมาณ 550 เมตร ซึ่งเชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูง Haramain ว่ากันว่าอาจจะเป็นแลนด์มาร์กใหม่ที่ผสมผสานระหว่างประเพณีวัฒนธรรมและความทันสมัยอย่างลงตัว โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อรองรับผู้แสวงบุญจากทั่วโลกภายในปี 2573

      11. อัลอูลา (AlUla) อีกโครงการหนึ่งที่มุ่งเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนซาอุฯ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ได้รับการขนานนามว่าเป็น “รากฐานสำคัญของความทะเยอทะยานทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของราชอาณาจักร” ซึ่งถูกจัดให้เป็นเมืองมรดกโลก โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) และเป็นแห่งแรกของซาอุฯ อีกด้วย อัลอูลาถูกพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตและโรงแรมอีกหลายแห่ง รวมถึงเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2578 (2035)

      12. เขตการเงินของกษัตริย์อับดุลลาห์ (King Abdullah Financial District: KAFD) รู้จักในชื่อย่อว่า KAFD เป็นย่านการเงิน KAFD อาจไม่ใช่โครงการขนาดใหญ่ในเชิงเทคนิค เนื่องจากได้เริ่มต้นก่อนการประกาศแผนวิสัยทัศน์ 2030 KAFD ตั้งอยู่ย่านใจกลางเมืองริยาด ประกอบด้วยอาคารและตึกระฟ้า 61 หลัง สามารถเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟใต้ดิน โดยอาคารทั้งหมดที่อยู่ในการพัฒนาจะเชื่อมต่อกันด้วยสะพานปรับอากาศหลายชุด และมีระบบโมโนเรล 6 สถานี วิ่งรอบโครงการ

      13. เมืองไม่แสวงผลกำไรของโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน (Mohammed Bin Salman Non-profit City) เป็นเมืองที่ไม่แสวงหาผลกำไรแห่งแรกของโลก เพื่อเป็นศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและสถานที่สำหรับสนับสนุนผู้นำในอนาคตของประเทศ และอาจจะกลายเป็นต้นแบบของการคมนาคมในเมืองที่มีความทันสมัยอย่างบูรณาการ ซึ่ง 44 % ของเมืองเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ดังนั้น เพื่อให้สัมผัสถึงความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงออกแบบโครงสร้างภายในให้มีระบบทำความเย็นและโครงสำหรับบังแดดขนาดใหญ่โดยรอบ

      14. เซเวน (SAUDI ENTERTAINMENT VENTURES: SEVEN) ตั้งอยู่ในเมืองริยาด เพื่อเป็นศูนย์รวมความบันเทิงรูปแบบใหม่ที่มีความหลากหลาย เหมาะสำหรับครอบครัวและกลุ่มคนทุกวัย ทั้งศิลปะและสันทนาการ เช่น เครื่องเล่นที่ทันสมัย โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่งนีออน สนามกอล์ฟ ปีนเขา สนามแข่งรถโกคาร์ต ร้านค้าปลีกแบรนด์ต่าง ๆ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

      —————

      ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลและภาพประกอบ :

      www.vision2030.gov

      www.dezeen.com/2023/09/19/saudi-arabias-giga-projects

      www.neom.com/en-us/newsroom

      www.masardestination.com

      www.kafd.sa

      https://seven.sa/2023/05/10/seven-signs-second-licensed-agreement-with-hasbro-inc-to-develop-the-worlds-first-transformers-indoor-entertainment-centre-in-saudi-arabia/

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/11/20/%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a214-%e0%b9%82%e0%b8%9b%e0%b8%a3/feed/ 0
      เมื่อ AI เขย่าทุกวงการ อะไรก็เป็นไปได้หมด https://fti.or.th/2023/11/10/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-ai-%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84/ https://fti.or.th/2023/11/10/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-ai-%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84/#respond Fri, 10 Nov 2023 16:09:32 +0000 https://fti.or.th/?p=51090

      ถ้าพูดถึง “Artificial Intelligence (AI)” หรือที่หลาย ๆ คนคุ้นหูกันว่า “ปัญญาประดิษฐ์” คงไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะทุกวันนี้ มองไปทางไหน ก็เจอแต่ AI เต็มไปหมด

      AI เขย่าทุกวงการจริง ๆ ?

      คำตอบคือ ใช่ เพราะโลกมาถึงจุดเปลี่ยนและต้องรับมือให้ทัน

      ความอัจฉริยะของเทคโนโลยี AI ที่ไม่เพียงเพื่อใช้ในสายการผลิตหรือในโรงงานเท่านั้น ปัจจุบันยังถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การแพทย์และสุขภาพ การเกษตรและอาหาร ธุรกรรมการเงิน การสื่อสารโทรคมนาคม การบริการ การขนส่ง การเดินทาง การศึกษา การตลาดและโฆษณา บันเทิง ถ่ายภาพ เป็นต้น

      เป็นที่ประจักษ์กันแล้วว่า เทคโนโลยี AI เป็นเครื่องมือที่ทำให้การใช้ชีวิตและการทำงานสะดวกสบายง่ายขึ้นกว่าเดิมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นผู้ช่วยคนสำคัญในการยกระดับการทำงานที่เยี่ยมยอดในอีกหลาย ๆ ด้านด้วย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดต้นทุน ประหยัดเวลา การสร้างผลกำไรจากธุรกิจ การหาไอเดียต่าง ๆ ทั้งแบบง่ายและซับซ้อน การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น ซึ่งในปี 2566 นี้ อาจกล่าวได้ว่า AI เป็นดาวรุ่งที่เขย่าและท้าชนทุกวงการจริง ๆ

      :

      AI ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ อะไรก็เป็นไปได้หมด

      กระแสความสำคัญและปริมาณความนิยมของเทคโนโลยี AI มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจุดน่าสนใจอยู่ตรงที่วิวัฒนาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ที่ยังไม่ถึงขีดสุด เชื่อมั่นว่ายังต้องวิวัฒนาการกันต่อไป หากสังเกตรอบ ๆ ตัวเราจะพบว่า มีการดึงประโยชน์ของเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อตอบโจทย์โลกยุคใหม่ได้สารพัดสิ่ง

      ขยายความจากข้างต้นคือ เทคโนโลยี AI สามารถสร้างภาพศิลปะและภาพวาดเหมือนจริง สร้างเสียงและพูดแทนคน สร้างและแก้ไขวิดีโอ ผลิตเนื้อหา (Content) ให้โดนใจลูกค้า ตอบคำถามภาษามนุษย์ (Chatbot) โต้ตอบอีเมล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เป็นต้น มีตัวอย่างผลงานที่นำเทคโนโลยี AI ไปพัฒนาใช้แล้ว เช่น

      – นักบินหุ่นยนต์ขับเครื่องบินของเกาหลีใต้

      – Otter.ai เครื่องช่วยบันทึกและถอดเสียงการประชุม

      – Bard แชตบอตที่พัฒนาโดย Google เพื่อแข่งกับ ChatGPT จาก OpenAI 

      Claude แชตบอตรุ่นใหม่ที่พัฒนาโดยบริษัท Anthropic ที่อ้างว่าจะมาฆ่า ChatGPT

      – Tengai หุ่นยนต์สัมภาษณ์งานตัวแรกของโลก

      – ปลดล็อกหน้าจอโทรศัพท์ด้วย Face ID

      – ตรวจจับและคัดกรองโรคมะเร็ง

      – อากาศยานไร้คนขับ

      – โดรนวัดความหวานไร่อ้อย

      – หุ่นยนต์ AI อ่านข่าวเหมือนมนุษย์

      – ลิ้นอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเลียนแบบการรับรสของมนุษย์ได้

      สำหรับตัวอย่างเทคโนโลยี AI ที่เตรียมจะเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคตอันใกล้นี้ เช่น ถอดรหัสภาพจากการทำงานของสมองแบบเรียลไทม์ รถยนต์อัจฉริยะไร้คนขับ รถแทรกเตอร์ไร้คนขับ Grok แชตบอตใหม่ของ Elon Musk ที่เตรียมท้าชน ChatGPT เป็นต้น

      จากตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความอัจฉริยะของเทคโนโลยี AI ที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ จากที่เป็นไปไม่ได้ให้มีความเป็นไปได้ในอนาคตนั้นก็ยังมีอีก และจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อผู้คนในแต่ละสาขาอาชีพ/วงการมากขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นคงต้องจับตาและอัปเดตข่าวสารกันต่อไป

      :

      พัฒนาบุคลากรด้าน AI ต้องพร้อมก่อนไทยจะเป็นฮับ AI

      Oxford Insights ได้เปิดเผยข้อมูลดัชนีความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาล ปี 2565 (Government AI Readiness Index 2022) พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่อันดับที่ 31 จาก 181 ประเทศ (ไทยเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ อยู่อันดับที่ 2 และมาเลเซีย อยู่อันดับที่ 29) จากดัชนีฯ นี้สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยต้องก้าวให้ทันเทคโนโลยีและเตรียมความพร้อมให้มากขึ้น

      อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขีดความสามารถให้ทุกภาคส่วนในประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายแห่งอนาคต (New S-Curve) และรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จึงมีความสำคัญยิ่งยวด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน AI ที่ต้องอัปสกิล (Upskill) และรีสกิล (Reskill) ตลอดจนการแก้ปัญหาและรับมือการขาดแคลนบุคลากรด้าน AI ที่คาดการณ์ว่าจะลากยาวไปถึงปี 2569

      :

      ความน่ากลัวที่แอบแฝง

      ความก้าวหน้าและความเก่งกาจขึ้นของเทคโนโลยี AI เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน องค์กรและธุรกิจจะได้ประโยชน์อย่างมากมายมหาศาลเมื่อนำไปใช้ให้ถูกทางและเหมาะสม ในขณะที่อีกด้านนั้นอาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์และสังคมได้เช่นกัน หากไม่มีการควบคุมและกำกับดูแลอย่างรอบคอบและรัดกุมก็อาจสายเกินไปที่จะแก้ได้

       ———-

      อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญกับองค์กรและธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งยังคงหนีไม่พ้นเรื่องของ AI ดังนั้น ทักษะด้าน AI จึงเป็นทักษะจำเป็นในโลกยุคดิจิทัล

      โดยสรุปแล้วเทคโนโลยี AI ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองหรือถูกเสกให้เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดล้วนเกิดจากปัญญาของมนุษย์ที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาจนมีความสามารถล้ำหน้าเกินกว่ามนุษย์ไปแล้ว แต่สุดท้ายแล้วการตัดสินใจต่างๆ ก็คือ “มนุษย์” อยู่นั่นเอง

      ปัจจุบันการเรียนรู้เทคโนโลยี AI ไม่ใช่เรื่องยากหรือมีข้อจำกัดอีกต่อไป จงเรียนรู้และศึกษาเพื่อให้อยู่รอดได้ในโลกยุคใหม่ ทั้งนี้ หากต้องการขอรับคำแนะนำหลักสูตรเพื่อยกระดับทักษะ ทั้ง Upskill และ Reskill สามารถติดต่อได้ที่ FTI Academy สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 1453 กด 12

      ]]>
      https://fti.or.th/2023/11/10/%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad-ai-%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84/feed/ 0